site loader
site loader
06/08/2021 กทม.จัดทำระบบ Home Isolation ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว

กทม.จัดทำระบบ Home Isolation ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว

กทม.จัดทำระบบ Home Isolation ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน ทำให้มีผู้ป่วยที่รอเตียงหรือผู้ป่วยตกค้างในชุมชนจำนวนมาก เพื่อเป็นการสำรองเตียงในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองและสีแดง กทม. จึงจัดระบบบริการผู้ป่วยที่สามารถดูแลแยกกักรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation : HI) โดยเน้นการดูแลรักษาสำหรับผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว  ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย โดยมีบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ดูแลติดตามผู้ป่วย ซึ่งจะได้รับการประเมินอาการทุกวัน วันละ 2 ครั้ง พร้อมจัดอาหาร 3 มื้อ และมอบเครื่องวัดไข้แบบดิจิทัล เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว และของใช้จำเป็น ที่สำคัญคือจะได้รับยารักษา เช่น ยาฟ้าทะลายโจร ยาฟาวิพิราเวียร์ ตามดุลพินิจของแพทย์ ในกรณีที่อาการแย่ลง จะมีการประสานส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาล” พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวถึงระบบบริการผู้ป่วยที่แยกกักรักษาตัวที่บ้าน

จากการให้ข้อมูลของ พว.นารีรัตน์   เหลาสุภาพ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ศูนย์บริการสาธารณสุข 13 ไมตรีวานิช สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ระบุว่า ระบบ Home Isolation ของ กทม. ยึดรูปแบบการรักษาที่บ้านตามหลักสากล ทำให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยาและแพทย์ได้เร็วกว่าการรอเตียง เมื่อผู้ป่วยได้เข้ามาในระบบ Home Isolation แล้ว จะมีแพทย์ พยาบาล ประเมินอาการทันที รวมถึงการพิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ตามมาตรฐานการรักษาในโรงพยาบาลทุกประการ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจเมื่อต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน กทม.โดยสำนักอนามัย ได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จัดทำระบบการดูแลแยกกักรักษาตัวที่บ้าน Home Isolation ผ่านการแพทย์ทางไกล (AMED Telehealth  for Home Isolation) ที่ชื่อว่า ‘BKKHICare’ ทำให้การสื่อสาร และดูแลผู้ป่วยผ่านการแพทย์ทางไกล มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย

สำหรับผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่ต้องการเข้าสู่ระบบ Home Isolation สามารถติดต่อได้ที่สายด่วน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 1330 ต่อ 14 เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าไปสอบสวนโรคหรือประเมินอาการเบื้องต้น ซึ่งการคัดเลือกผู้ป่วยเข้าระบบ Home Isolation นั้น กทม. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ 4 ข้อ ได้แก่

1.ผู้ป่วยจะต้องได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยติดเชื้อโควิด-19 จากการตรวจ RT-PCR หรือตรวจแบบ Rapid Test โดยโรงพยาบาลรัฐหรือศูนย์บริการสาธารณสุข
2. ผู้ป่วยจะต้องได้รับการประเมินแล้วว่าอยู่ในเกณฑ์กลุ่มสีเขียว คือ ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ถ่ายเหลว จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส แต่ต้องไม่มีอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจลำบาก นอกจากนี้ ผู้ป่วยและคนที่พักอาศัยอยู่ด้วยกันต้องไม่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง (ระยะ 3, 4, 5)   โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และโรคอื่นๆ ตามดุลพินิจของแพทย์
3. ต้องมีอายุอยู่ในช่วง 15-60 ปี และไม่ใช่สตรีตั้งครรภ์
4. ที่พักอาศัยต้องมีความเหมาะสมสำหรับเป็นที่กักตัว และที่สำคัญ ผู้ป่วยต้องยินยอมกักตัวที่บ้านอีกด้วย

Related Post

เรื่องน่ารักในโลกออนไลน์มาอีกแล้ว ครั้งนี้เป็นของ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Thiti Sawatdee ซึ่งเป็นพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่

นักดนตรี

นักร้องรวมตัว ยื่นหนังสือต่อตัวแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี อนุมัติเงินเยียวยาผู้ประกอบการสถานบันเทิง

สุนิสา ลี

สุนิสา ลี ก็ร่วมทีมชาติสหรัฐฯ คว้าเหรียญเงินกลับไปกอดได้สำเร็จ โดยทีมชาติสหรัฐแชมป์เก่า 2 สมัยซ้อนที่ ลี ร่วมทีม ทำคะแนนรวม Read more

02/08/2021 ทูตอังกฤษเผยเตรียมบริจาควัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าให้ไทย 4.15 แสนโดส  ส่งถึงเดือนหน้า

ทูตอังกฤษเผยเตรียมบริจาควัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าให้ไทย 4.15 แสนโดส ส่งถึงเดือนหน้า

ทูตอังกฤษเผยเตรียมบริจาควัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าให้ไทย 4.15 แสนโดส
ส่งถึงเดือนหน้า

ข่าวดีอีกหนึ่ง จากมหามิตรของประเทศไทย เพจเฟซบุ๊ก UK in Thailand ของสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย โพสต์คลิปวิดีโอที่เผยให้เห็น “มาร์ค กูดดิ้ง” ว่าที่เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย พร้อมข้อความระบุว่า อังกฤษประกาศบริจาควัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 415,000 โดส ให้แก่ประเทศไทย พร้อมนำส่งถึงไทยในเดือนหน้า

นอกจากนี้ ยังระบุอีกว่า สัปดาห์นี้สหราชอาณาจักรจะเริ่มส่งออกวัคซีนโควิด19 จำนวน 9 ล้านโดสบริจาคให้ทั่วโลก เพื่อช่วยรับมือปัญหาการระบาด ซึ่งในจำนวนนี้ 5 ล้านโดส จะบริจาคเข้าโครงการ COVAX ส่วนอีก 4 ล้านโดส แบ่งบริจาคโดยตรงให้ประเทศต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทั่วโลกเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งไทยจะ 415,000 โดส ในโควต้านี้ด้วย

ทั้งนี้ วัคซีนที่บริจาคดังกล่าวเป็นวัคซีนออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า ผลิตโดย Oxford Biomedica และบรรจุในเมือง Wrexham ในตอนเหนือของเวลส์

Related Post

ทำชาวเน็ตซึ้ง? จนน้ำตาไหล หนูน้อยเขียนเรียงความวันแม่ แซวแม่เอฟเสื้อเก่ง ติดกล้องวงจรปิดไว้ดูแมว ไม่ได้ดูผม

หมอเจี๊ยบ ลลนา

ล่าสุด หมอเจี๊ยบ ได้ออกมาตอบคำถามและแชร์บอกความรู้แนะวิธีปฏิบัติตัวไว้ว่า ถ้าจำเป็นต้องนั่งรถโดยสารร่วมกับผู้อื่นควรทำอย่างไร

จี๊บ เทพอาจ

จี๊บ เทพอาจ ได้เดินทางไปมอบเงินช่วยเหลือครอบครัววีรบุรุษนักดับเพลิง อย่างน้องพอส เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท

27/07/2021 หมอจุฬาฯ แนะนำ “Home Isolation” ที่บ้าน ให้ประชาชนเตรียมรับมือ

หมอจุฬาฯ แนะนำ “Home Isolation” ที่บ้าน ให้ประชาชนเตรียมรับมือ

หมอจุฬาฯ แนะนำ “Home Isolation” ที่บ้าน ให้ประชาชนเตรียมรับมือ

แน่นอนว่า ตอนนี้ประเทศไทย ประสบปัญหาในเรื่องของผู้ป่วยที่ติดเชื้อสูงมากกว่า 15,000 คน รวมทั้งมีอาการที่หลายระดับ ทำให้แนวคิดเรื่องของ “Home Isolation” จึงเริ่มเป็นสิ่งที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมตัวรับมือ

ซึ่งหากคุณติดโควิด-19 อาการไม่หนักและแพทย์ให้รักษาตัวที่บ้านหรือ Home Isolation คุณควรดูแลตัวเองอย่างไร

ผศ.นพ. โอภาส พุทธเจริญ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและดูแลตัวเอง เมื่อเป็นผู้ป่วยโรคโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่เข้าเกณฑ์รักษาตัวที่บ้าน รวมถึงผู้ป่วยที่อาการหนักแต่ยังต้องรอเตียงอยู่ที่บ้าน

อันดับแรกคือ ไม่ควรเดินทางออกนอกที่พัก แยกการใช้ชีวิตกับผู้อื่นในบ้าน ทั้งอาหารการกิน หรืออยู่ในห้องเดี่ยวที่อากาศถ่ายเทได้ดี หากทำไม่ได้ให้แยกจากคนอื่นให้มากที่สุด ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่นหรือต้องใช้หลังสุดและทำความสะอาดหลังใช้เสร็จแล้ว

ถ้าอาการหนักมากขึ้น คำแนะนำโดยทั่วไป คือ ต้องไปโรงพยาบาล แต่ถ้ายังไม่สามารถเข้าโรงพยาบาลได้ การประคับประคองอาการที่ทำได้ คือ การเตรียมยาลดไข้ ยาจำเป็นบางอย่างสำหรับอาการเสียน้ำ เช่น เกลือแร่ เป็นต้น

สำหรับเกณฑ์ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่กักตัวที่บ้าน จากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีดังนี้

ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ

อายุไม่เกิน 60 ปี

สุขภาพร่างกายแข็งแรง

อยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมไม่เกิน 1 คน

ไม่มีภาวะอ้วน

ไม่มีโรคร่วม ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง (ระยะ 3,4,5) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์

ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

ส่วนข้อปฏิบัติตัวและสังเกตอาการตัวเอง จาก ผศ.นพ.โอภาส อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ รพ.จุฬาลงกรณ์ มีดังนี้

เตรียมปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว วัดออกซิเจนด้วยวิธีเดิน 6 นาที

การวัดออกซิเจนด้วยวิธีเดิน 6 นาที (6 minutes walk test) เป็นการตรวจการแลกเปลี่ยนของก๊าซ ที่ดีกว่าการวัดแบบที่ผู้ป่วยนั่งอยู่เฉย ๆ เพราะเป็นค่าชี้วัดลำดับต้น ๆ ของการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ผิดปกติ ในผู้ป่วยบางคนที่มีพยาธิสภาพของปอด ซึ่งถ้าเป็นน้อย ๆ อยู่เฉย ๆ จะไม่มีอาการ จะไม่เหนื่อย แต่ถ้าเริ่มเดินสักพัก การแลกเปลี่ยนก๊าซจะลดลง ค่านี้จะช่วยบอก ว

วิธีการทำ 6 minutes walk test ก็คือให้ใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (pulse oximeter) วัดค่าออกซิเจนในเลือดแล้วจดไว้ เครื่องจะบอกค่าการแลกเปลี่ยนของค่าออกซิเจนในเลือดกับชีพจร จากนั้นให้เดินเป็นเวลา 6 นาที หรือ 3 นาทีสำหรับผู้สูงอายุ ไม่ต้องเดินเร็ว เดินไปเดินมาในห้อง แล้วกลับมาวัดซ้ำ ถ้าค่าลดลงมากกว่า 4 จากเดิมเท่าไหร่ก็ตาม ถือว่าผิดปกติ หรือถ้าวัดครั้งแรกได้น้อยกว่า 95 แสดงว่าผิดปกติตั้งแต่ต้น ให้โทรศัพท์ไปที่โรงพยาบาลและรายงานแพทย์ทันที

ส่วนใหญ่ดูที่อาการเหนื่อยและการมีไข้ โดยทั่วไปก่อนที่แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยมากักตัวที่บ้านได้จะต้องผ่านการเอ็กซเรย์ปอดมาแล้วเพื่อยืนยันว่าไม่มีอาการปอดอักเสบ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนอาจไม่มีอาการปอดอักเสบในตอนแรก แต่มามีอาการทีหลัง หากเป็นเช่นนี้ต้องกลับมาประเมินใหม่ที่โรงพยาบาล ซึ่งผู้ที่ปอดอักเสบมักจะต้องมีอาการเพิ่มขึ้น เช่น มีไข้ มีอาการเหนื่อย และค่าออกซิเจนในเลือดต่ำผิดปกติ

ถ้าผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงดี อายุไม่มาก การกักตัวที่บ้านถือว่าค่อนข้างปลอดภัย แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแย่ลงแต่ยังหาเตียงไม่ได้ จำเป็นที่ต้องรักษาตัวที่บ้านระหว่างรอเตียง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องระมัดระวัง แนะนำให้ดูอาการอย่างใกล้ชิดและวัดออกซิเจนวันละ 1-2 ครั้ง หากมีอาการเพิ่มขึ้น เช่น เหนื่อย ให้เตรียมออกซิเจนไว้น่าจะสำคัญที่สุด และการนอนคว่ำ (ศัพท์ทางการแพทย์เรียกการทำ prone) จะทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซดีขึ้น

ผู้ป่วยสีเขียวกักตัวที่บ้าน หากครบ 14 วัน ไม่ต้องสวอบหาเชื้ออีกครั้ง

ผู้ป่วยกักตัวที่บ้านและรักษาจนหายป่วยแล้ว แนะนำให้กักตัวต่ออย่างน้อย 14 วัน เพราะว่าช่วง 14 วันนี้เป็นช่วงที่ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ ขอให้กักตัวอยู่ในห้อง กินข้าวในห้องแยกจากคนอื่น แยกห้องน้ำ เมื่อครบ 14 วันแล้วสามารถใช้ชีวิตแบบ “นิวนอร์มอล” ได้ตามปกติ เพราะถือว่าพ้นระยะแพร่กระจายเชื้อแล้ว

คำถามที่ว่าเมื่อกักตัวครบ 14 วันหลังจากหายป่วยแล้ว จะต้องไปสวอบหาเชื้อซ้ำหรือไม่ ผศ.นพ.โอภาสกล่าวว่าไม่จำเป็น เพราะว่าหลังหายป่วยเชื้อจะน้อยลง แต่ไม่ได้หายไปหมด ดังนั้นการตรวจโดยวิธีการตรวจสวอบหรือว่าแยงโพรงจมูกจะยังเจอเชื้ออยู่ แต่ว่าเชื้อที่เจอเป็นซากเชื้อ คนจะเข้าใจผิดว่า พอออกมาแล้วหาย กลับมาทำงานจะต้องสวอบก่อนเข้าทำงาน จริง ๆ ไม่จำเป็น เพราะว่าอาจจะยังตรวจเจออยู่ แต่ว่าสิ่งที่ตรวจเจอ มันเป็นซากเชื้อทำให้เราเข้าใจผิดว่าเรายังไม่หายเสียที

แต่หากหายป่วยแล้ว กักตัวครบ 14 วันแล้วมีอาการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น คัดจมูก มีไข้ ก็แนะนำให้ไปทำสวอบซ้ำได้ และสำหรับผู้ที่หายป่วยแล้วเป็นเวลา 3 เดือน สามารถรับวัคซีนได้ตามปกติ 1 เข็ม

Related Post

กระทรวงสาธารณสุข นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แถลงข่าวประเด็น สั่งอาหารเดลิเวอรี่อย่างไรให้ปลอดภัย

แอน จักรพงษ์

แอน จักรพงษ์” เผยส่งฟ้องแล้ว 11 ราย กรณีหมิ่นประมาทเรื่องซื้อกิจการร้านอาหาร

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า นายกรัฐมนตรีไม่ได้ห้ามการจัดกิจกรรมงานลอยกระทงแต่อย่างใด ตามที่สื่อรายงาน

15/07/2021 “บุ๋ม ปนัดดา” ควักเงินส่วนตัว 1 แสนบาท ซื้อที่ตรวจโควิดให้กับคนยากจน

“บุ๋ม ปนัดดา” ควักเงินส่วนตัว 1 แสนบาท ซื้อที่ตรวจโควิดให้กับคนยากจน

“บุ๋ม ปนัดดา” ควักเงินส่วนตัว 1 แสนบาท ซื้อที่ตรวจโควิดให้กับคนยากจน

ช่วยสังคมอย่างต่อเนื่องจริงๆ อย่างสาวเก่งอย่าง บุ๋ม-ปนัดดา วงศ์ผู้ดี เช่นในสถานการณ์โควิด19 ที่กำลังระบาดอยู่ในตอนนี้ ก็จะเห็น บุ๋ม ปนัดดา ยื่นมือเข้าไปช่วยลงแรงด้วยตัวเองตลอดในทุกเรื่องที่ช่วยได้

แถมล่าสุด บุ๋ม ปนัดดา ยังควักเงินในกระเป๋าส่วนตัว 1 แสนบาท ไปซื้อที่ตรวจโควิดแบบ rapid test ให้กับคนยากจนและผู้ป่วยที่เข้าถึงการตรวจยากด้วย โดยบุ๋มได้โด้โพสต์ข้อความไว้ว่า

“ควักเงินส่วนตัว 1 แสนบาท ซื้อที่ตรวจโควิดแบบ rapid test เพื่อคนยากจนและผู้ป่วยที่เข้าถึงการตรวจยาก หรือบ้านที่มีผู้ติดเชื้อ และญาติมีอาการแต่ไม่ได้ตรวจสักที จะได้ดูแลตัวเองกันต่อไป ปนัดดาจะสู้โควิดไปพร้อมกับทุกคนค่ะ”

งานนี้แฟนๆ ก็เข้ามาชื่นชม บุ๋ม ปนัดดา กันมากมาย รวมถึงอยากทราบราคาและได้รู้ว่ามีผู้ต้องการอยากหาซื้อที่ตรวจเป็นจำนวนไม่น้อยเลย

Related Post

Lipta (ลิปตา) คัตโตะ-อารมณ์ โพธิ์หาญรัตนกุล และ แทน-ธารณ ลิปตพัลลภ ใช้ฤกษ์ดีวันที่ 9 เดือน Read more

เปิดตัวซิงเกิลใหม่ล่าสุดไปเรียบร้อยกับวงร็อกห้างแตก “Paper Planes (เปเปอร์ เพลนส์)” ที่พากระแสเพลง Pop Punk กลับมาฮอตฮิตในยุคนี้อีกครั้ง

“พีพี” ยอมเปิดใจให้ล้วงลึกแบบทุกซอกทุกมุม พร้อมเล่าโหมดซึ้ง ๆ ถึงคนสนิทอย่าง บิวกิ้น-พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล จนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่