site loader
site loader
15/06/2022 องค์การอนามัยโลก จ่อเปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิง เลี่ยงภูมิภาค-สัตว์ หวั่นถูกตีตราในอนาคต

องค์การอนามัยโลก จ่อเปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิง เลี่ยงภูมิภาค-สัตว์ หวั่นถูกตีตราในอนาคต

องค์การอนามัยโลก จ่อเปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิง เลี่ยงภูมิภาค-สัตว์ หวั่นถูกตีตราในอนาคต

โฆษกองค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ทางองค์การฯ มีแผนเปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิงไปใช้ชื่ออื่น เนื่องจากชื่อเดิมไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติของ WHO ซึ่งเลี่ยงการตั้งชื่อโรคที่สื่อถึงภูมิภาคหรือสัตว์ เพื่อไม่ให้คนบางกลุ่มหรือสัตว์บางชนิดถูกตีตรา

ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์กว่า 30 รายทั่วโลกมองว่า การใช้ชื่อ “โรคฝีดาษลิง”สะท้อนถึงการเลือกปฏิบัติและการตีตรา ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนชื่อ ในทำนองเดียวกับที่ WHO ที่เคยประกาศเปลี่ยนชื่อทางการของไวรัส SARS-CoV-2 เป็นโควิด-19 หลังจากที่ทั่วโลกเรียกไวรัสดังกล่าวว่าเป็น ไวรัสจีนหรือไวรัสอู่ฮั่น ทำให้เกิดการตีตรา และทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมามากมาย

ขณะที่โฆษกองค์การอนามัยโลกระบุว่า การตั้งชื่อโรคควรมีเป้าหมายเพื่อลดผลลบ และไม่สร้างความเสื่อมเสียให้กับคนบางกลุ่ม โดยขณะนี้องค์การฯ กำลังปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส orthopoxvirus ซึ่งเป็นเชื้อในตระกูลเดียวกับฝีดาษลิง เพื่อหาชื่อที่เหมาะสมกว่านี้ อย่างไรก็ดีต้องติดตามกันต่อไปว่าจะเปลี่ยนชื่อเป็นอะไร เพื่อให้ไม่ตกข่าวสารนะ

Related Post
หน้ากากอนามัย

WHO ระบุว่า หน้ากากอนามัยปกติสามารถป้องกันเชื้อไวรัสที่มากับละอองฝอยน้ำลายของผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้มากถึง 95%

IOS

แอปเปิล ปล่อยระบบปฏิบัติการ iOS 15, iPadOS 15 และ watchOS 8 ให้กับผู้ใช้งานทั่วไปได้ทดลองสัมผัสระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่เรียบร้อยแล้ว

องค์การเภสัชกรรม (อภ.) จำหน่ายชุดตรวจโควิด-19 คุณภาพ ภายใต้โครงการ “ATK คุณภาพเพื่อสังคมไทย” ในราคาชุดละ 40 บาท

11/08/2021 ชาวจีน 25 ล้านคน  ร่วมลงชื่อจี้ WHO สอบแล็บสหรัฐฯ อาจเป็นต้นตอ Covid-19

ชาวจีน 25 ล้านคน ร่วมลงชื่อจี้ WHO สอบแล็บสหรัฐฯ อาจเป็นต้นตอ Covid-19

ชาวจีน 25 ล้านคน  ร่วมลงชื่อจี้ WHO สอบแล็บสหรัฐฯ อาจเป็นต้นตอ Covid-19

โกลบอลไทมส์ สื่อกระบอกเสียงของรัฐบาลปักกิ่ง รายงานอ้างว่า ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตชาวจีนจำนวน 25 ล้านรวมลงชื่อผ่านแคมเปญรณรงค์ทางออนไลน์ เรียกร้องให้อนามัยโลก (WHO) เปิดการสอบสวนห้องแล็บในสถานีวิจัยโรคติดเชื้อของกองทัพสหรัฐฯ ที่ฐานทัพ Fort Detrick เพื่อค้นหาต้นต่อของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เหมือนดังเช่นที่อนามัยโลกเคยเข้ามาสอบสวนสถาบันวิจัยไวรัสวิทยาในอู่ฮั่นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

คำร้องของชาวเน็ตจีนยังระบุอีกว่า  Biolab ของ Fort Detrick เป็นสถานที่จัดเก็บเชื้อไวรัสอันตรายไว้หลายชนิดซึ่งสื่อจีนอ้างว่ามีบันทึกการรั่วไหลเมื่อปี 2019 ก่อนเกิดเหตุการณ์ระบาดใหญ่

สำหรับเว็บไซต์ที่ชาวจีนลงชื่อยื่นคำร้องนั้น เป็นไมโครเว็บที่โกลบอลไทมส์สร้างขึ้นสำหรับการรณรงค์แคมเปญนี้โดยเฉพาะ นับตั้งแต่เปิดเว็บไซต์ดังกล่าวมีชาวจีนร่วมลงชื่อไม่น้อยกว่า 5 แสนรายชื่อในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง จากนั้นเพิ่มเป็น 1 ล้านรายชื่อ ใน 48 ชั่วโมง โดยสื่อจีนยังอ้างด้วยว่า เพียงไม่นานหลังเปิดเว็บรณรงค์ ได้ถูกโจมตีทางไซเบอร์อย่างหนักจาก IP Address ที่อยู่ในสหรัฐฯ หลายแห่ง

ทั้งนี้ สื่อของรัฐบาลจีนยังได้อ้างว่า ทราบจากแหล่งข่าวในรัฐบาลสหรัฐฯ ว่า วอชิงตันมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเปิดดำเนินการสอบสวนต้นต่อของโควิดในจีนอีกครั้ง แม้ว่าเชื่อว่าจะไม่พบหลักฐานสาระสำคัญก็ตาม และหากการสอบสวนที่นำโดยสหรัฐฯ จบลงโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น สหรัฐฯยังคงสามารถประกาศได้ว่า “ความล้มเหลวในการค้นหาว่าไวรัสมาจากไหนนั้นเกิดจากการที่จีนปฏิเสธการเข้าถึงข้อมูลและให้ความร่วมมือสอบสวนอย่างเปิดเผย” ดังนั้นจีนจึงต้องรับผิดชอบใน “ความทุกข์ของโลก” ยิ่งจีนต่อต้านมากเท่าไร สหรัฐฯก็ยิ่งมีเหตุผลมากขึ้นที่จะต้องรวมตัวกับชาติพันธมิตรเพื่อกดดันจีนให้มากยิ่งขึ้น

Related Post

กทม.เปิดให้ "ผู้ป่วยติดเตียง-ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยเปราะบาง" ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดที่บ้าน

ฟ้าทะลายโจร

เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ จากคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2564

โฆษกองค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ทางองค์การฯ มีแผนเปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิงไปใช้ชื่ออื่น เนื่องจากชื่อเดิมไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติของ WHO

15/07/2021 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพาดหัวคำเตือนจาก WHO พบบิดเบือนจากความหมาย!!!

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพาดหัวคำเตือนจาก WHO พบบิดเบือนจากความหมาย!!!

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพาดหัวคำเตือนจาก WHO พบบิดเบือนจากความหมาย!!!

จากกระแสฮือฮาเรื่อง WHO ออกเตือน ว่าฉีดวัคซีน 2 ยี่ห้อไม่ปลอดภัย ทางนักวิชาการ WHO แจ้งตรวจสอบพบพาดหัว-ตัดต่อเนื้อหาทำเข้าใจผิดตามที่มีการแชร์ข่าวและข้อมูลว่า “WHO เตือนเลี่ยงฉีดวัคซีนผสมสูตร โดยระบุว่าเป็นอันตราย หรือ “dangerous trend” นั้น

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความที่รายงานข่าวในประเทศไทยนั้น แปลมาจากข่าวที่รายงานโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ ซึ่งพาดหัวว่า “WHO warns against mixing and matching COVID vaccines” ซึ่งเผยแพร่เมื่อ 00.40 น. 13 ก.ค. 64 ตามเวลาในประเทศไทย โดยมีข้อความบางส่วนจากคำพูดของ Dr.Soumya Swaminathan หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ องค์การอนามัยโลกท่านดังกล่าว ได้แก่ “It’s a little bit of a dangerous trend here. We are in a data-free, evidence-free zone as far as mix and match,”และ”It will be a chaotic situation in countries if citizens start deciding when and who will be taking a second, a third and a fourth dose.”

(ข่าวต้นฉบับ] https://www.reuters.com/…/status/1414640744762073089)

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ข่าวเผยแพร่ออกไป เมื่อเวลา 01.44 น. 13 ก.ค. 64 หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ องค์การอนามัยโลกท่านนั้น ได้เขียนข้อความบนบัญชีทวิตเตอร์ส่วนตัว โดยอ้างอิงข่าวดังกล่าว โดยอธิบายเพิ่มเติมว่า “บุคคลทั่วไป ไม่ควรตัดสินใจด้วยตัวเอง แต่ควรเป็นหน่วยงานสาธารณสุขตัดสินใจบนฐานของข้อมูลที่มี…”

(ข่าวต้นฉบับ) “Individuals should not decide for themselves, public health agencies can, based on available data. Data from mix and match studies of different vaccines are awaited – immunogenicity and safety both need to be evaluated” https://twitter.com/doctors…/status/1414657053180809224…

นอกจากนั้น Dr.Soumya ยังรีทวิตและแสดงความขอบคุณ Menaka Pai แพทย์นักวิชาการอีกท่านหนึ่ง ที่เขียนทวีตว่า พาดหัวข่าวเรื่องที่ออกมาเตือนการผสมวัคซีนนั้น เป็นการพาดหัวที่ทำให้เข้าใจผิด เช่นข้อความที่แปลได้ว่า

“Dr.Soumya ต้องการเตือนไม่ให้บุคคลทั่วไป ‘ช็อปปิ้งวัคซีน’ ด้วยตัวเอง โดยไม่อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานสาธารณสุข (รวมทั้งการตัดสินใจฉีดโดส 3 หรือ 4 เอง)” “เธอไม่ได้บอกว่า นโยบายวัคซีนของแต่ละประเทศเป็นอันตราย”

(https://twitter.com/mpaimd/status/1414670469312172033…)

ดังนั้น ข้อความที่อยู่บนพาดหัวข่าว และมีการนำมารายงานต่อกันนั้น จึงไม่สอดคล้องตรงกับบริบทและจุดมุ่งหมายของผู้ที่กล่าวข้อความแต่อย่างใด

ส่วนแนวทางการ Mix & Match สลับวัคซีนนั้น มีข้อมูลการดำเนินการศึกษาและส่งเสริมในบางประเทศ เช่น แคนาดา https://www.cp24.com/…/canadian-health-officials-defend… รวมทั้งล่าสุดในประเทศไทย

Related Post

ฮือฮา ตัวการ์ตูนดัง โผล่ ฝาฝนังวัด เจ้าอาวาสชี้แจ้ง ทุกตัวละครมีความหมาย วานนี้ (15 มิ.ย.) เมื่อเวลา 16.00 Read more

รัฐบาลอนุมัติงบกว่า 9.3 พันล้าน จ่ายค่าวัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้านโดส หาเพิ่มอีก 10 ล้านโดส

เรียกว่าเป็นครั้งแรกกับงานฮาโลวีนใจกลางมหานครกรุงเทพ ที่จัดขึ้นที่สยามสแควร์ เพื่อให้ทุกคนได้มาฉลองเทศกาลฮาโลวีนแบบจัดเต็ม โดยงานนี้ขนทั้งความสนุก และความสยอง มาให้แบบไม่มีกั๊ก กับงาน Flex 104.5 x Read more

04/06/2021 WHO ประกาศชื่อหลักอย่างเป็นทางการของ ไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์

WHO ประกาศชื่อหลักอย่างเป็นทางการของ ไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์

WHO ประกาศชื่อหลักอย่างเป็นทางการของ ไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์

รู้ไว้ใช่ว่า….  องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศหลักการเรียกชื่อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ แบบใหม่ โดยใช้ตัวอักษรกรีก ในการระบุสายพันธุ์ ของไวรัสโควิดที่กลายพันธุ์ จากเดิมที่เรียกด้วยชื่อประเทศต่างๆ ที่พบไวรัสสายพันธุ์นั้นเป็นครั้งแรก เช่น อังกฤษ, แอฟริกาใต้ หรือ อินเดีย เป็นต้น

จากระบบการเรียกชื่อใหม่ของ WHO นี้ จะทำให้ไวรัสโควิดสายพันธ์ต่างๆ ถูกเรียกใหม่ดังนี้

  • สายพันธุ์ 1.1.7 พบเป็นครั้งแรกในอังกฤษ เรียกว่า “อัลฟา”
  • สายพันธุ์ 1.351 พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ เรียกว่า “เบตา”
  • สายพันธุ์P1 พบครั้งแรกในใน บราซิล เรียกว่า “แกมมา”
  • สายพันธุ์ 1.617.2 พบครั้งแรกในอินเดีย เรียกว่า “เดลตา”

WHO ระบุว่า ระบบการเรียกชื่อใหม่นี้ ช่วยขจัดการตีตราประเทศนั้นๆ ว่าเป็นต้นตอของไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ อีกด้วย ทั่วโลกทราบแล้ว เปลี่ยนชื่อเรียกกันนะ

Related Post
ล็อกดาวน์

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 มีสาระสำคัญคือการล็อกดาวน์กรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ไฟไหม้

ระทึกไฟไหม้อาคารสูง 37 ชั้น อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ปากซอยวิภาวดีรังสิต 9

วัคซีน

นายไมเคิล ฮีธ ระบุว่า “เรามีความภูมิใจที่จะบริจาควัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพให้กับประเทศไทยโดยไม่มีเงื่อนไข"