site loader
site loader
06/08/2021 “เภสัชกร” ติดโควิด แชร์ How to Home Isolation รักษาเองจนหายภายใน 9 วัน

“เภสัชกร” ติดโควิด แชร์ How to Home Isolation รักษาเองจนหายภายใน 9 วัน

“เภสัชกร” ติดโควิด
แชร์
How to Home Isolation รักษาเองจนหายภายใน 9 วัน

โลกออนไลน์ ได้แห่แชร์โพสต์ของเภสัชกรสาว เจ้าของเฟซบุ๊ก Suthamart Sathidkul ซึ่งได้โพสต์เมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา เล่าประสบการณ์ติดโควิด-19 ก่อนจะรักษาตัวจนหายภายใน 9 วัน ด้วยการ Home Isolation

หลังจากทราบว่าตัวเองติดโควิดราวๆ วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 แต่ตกหล่นจากระบบcแม้ลงกรอกฟอร์มไปตามขั้นตอนแล้ว และยังไม่มีทีมงานใดเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งเธอได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามา 1 เข็ม ประมาณเดือนกว่าๆ และเป็นคนแข็งแรง แม้ไม่ค่อยออกกำลังกาย แต่ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ ค่า bmi ไม่เกิน

ซึ่งแฟนที่อยู่ด้วยกันมาหลายวัน หรือคนที่ไปกินข้าวด้วยไม่มีใครติด คาดว่าอาจเพราะฉีดวัคซีนเลยไม่แพร่เชื้อให้ใคร

จากนั้นเธอจึงเริ่มประเมินอาการตัวเอง แต่ปรากฎว่าไม่มีอาการ เพราะตอนเจ็บคอ คัดจมูกเมื่อ 2 วันก่อน ก็กิน ไอบรูโพรเฟน กินยาแก้แพ้ พ่นยาลดการคัดจมูกไปแล้ว เลยจัดตัวเองอยู่กลุ่มผู้ป่วยสีเขียวสดใส ไม่มีอาการ จึงตัดสินใจ Home Isolation

เภสัชกรสาว เผยวิธีรักษาและดูแลตัวเอง เริ่มจากเรื่องทั่วๆ ไป คือพยายามกินข้าวให้ครบ 5 หมู่ ทั้ง 3 มื้อ กินให้หลากหลาย ทั้งผัก ผลไม้ น้ำอุ่น หรือน้ำขิง ที่เขาว่าดีก็กินหมด นอนเยอะๆ ออกกำลังกาย

ประกอบกับส่วนตัวได้มีการทำความสะอาดห้องด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง แยกกันอยู่กับแฟน แยกโซนกันชัดเจน ไม่กินข้าวด้วยกัน ห้องน้ำก่อน-หลังใช้ต้องทำความสะอาดทุกครั้ง

การกินยา ส่วนตัวกิน Vitamin high dose ใครจะกินตามก็ดูเงื่อนไขของตัวเองด้วยว่าไตไหวไหม เคยเป็นนิ่วหรือเปล่า

Vitamin c ที่กินเป็นของ blackmore 1000 mgx3 ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น

Zinc 50 mg/day

Vitamin D 5000 iu/day

ไม่ได้กินฟ้าทะลายโจรแต่อย่างใด (แอบกินกระชายนิดหนึ่ง) เพราะหาไม่ได้และเอาจริงก็ไม่อยากกินขนาดนั้น เคยกินฟ้าทะลายโจรแล้วเหมือนเป็นกรดไหลย้อน

สำหรับยาที่กินก็จะกินตามอาการ คือ

ยากดการไอ terco-d (dextromethophan) 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น หลังอาหาร

ยาละลายเสมหะ ambroxol 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง

ยาลดไข้ ส่วนตัวไม่มีไข้ ถ้ามีก็กินพารา

ยาแก้เจ็บคอ กิน ibuprofen 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง

ยาลดน้ำมูก แก้แพ้ ส่วนตัวกิน telfast หรือ zyrtec สลับไป กินวันละ 1 เม็ด วันละครั้ง

ยาลดอาการคัดจมูก กิน nasolin 1 เม็ดวันละ 4 ครั้ง และพ่นจมูกด้วย otrivin และล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

ถ้าระคายคอ ก็พ่นสเปรย์ รวมถึงกินยาอมด้วย

ทั้งนี้ ระหว่างรักษาตัว แนะนำให้จดอาการตัวเองในแต่ละวัน ถ้าเอกซเรย์ปอดได้บ่อยก็ยิ่งดี จะได้รู้ว่าเชื้อลงปอดหรือไม่ และหมั่นคอยวัดอุณหภูมิ และออกซิเจนด้วย เพราะหากมีอาการเหนื่อย มีไข้สูงมาก หายใจไม่เต็มปอด ให้ไปโรงพยาบาลทันที

Related Post
Home Isolation

ระบบ Home Isolation ของ กทม. ยึดรูปแบบการรักษาที่บ้านตามหลักสากล ทำให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยาและแพทย์ได้เร็วกว่าการรอเตียง

เตียงโควิด

นายสาธิต ปิตุเตชะ ให้สัมภาษณ์หลังประชุมร่วมกับกรมการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ และ กทม. เรื่องการบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 

ล็อกดาวน์

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 มีสาระสำคัญคือการล็อกดาวน์กรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

27/07/2021 หมอจุฬาฯ แนะนำ “Home Isolation” ที่บ้าน ให้ประชาชนเตรียมรับมือ

หมอจุฬาฯ แนะนำ “Home Isolation” ที่บ้าน ให้ประชาชนเตรียมรับมือ

หมอจุฬาฯ แนะนำ “Home Isolation” ที่บ้าน ให้ประชาชนเตรียมรับมือ

แน่นอนว่า ตอนนี้ประเทศไทย ประสบปัญหาในเรื่องของผู้ป่วยที่ติดเชื้อสูงมากกว่า 15,000 คน รวมทั้งมีอาการที่หลายระดับ ทำให้แนวคิดเรื่องของ “Home Isolation” จึงเริ่มเป็นสิ่งที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมตัวรับมือ

ซึ่งหากคุณติดโควิด-19 อาการไม่หนักและแพทย์ให้รักษาตัวที่บ้านหรือ Home Isolation คุณควรดูแลตัวเองอย่างไร

ผศ.นพ. โอภาส พุทธเจริญ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและดูแลตัวเอง เมื่อเป็นผู้ป่วยโรคโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่เข้าเกณฑ์รักษาตัวที่บ้าน รวมถึงผู้ป่วยที่อาการหนักแต่ยังต้องรอเตียงอยู่ที่บ้าน

อันดับแรกคือ ไม่ควรเดินทางออกนอกที่พัก แยกการใช้ชีวิตกับผู้อื่นในบ้าน ทั้งอาหารการกิน หรืออยู่ในห้องเดี่ยวที่อากาศถ่ายเทได้ดี หากทำไม่ได้ให้แยกจากคนอื่นให้มากที่สุด ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่นหรือต้องใช้หลังสุดและทำความสะอาดหลังใช้เสร็จแล้ว

ถ้าอาการหนักมากขึ้น คำแนะนำโดยทั่วไป คือ ต้องไปโรงพยาบาล แต่ถ้ายังไม่สามารถเข้าโรงพยาบาลได้ การประคับประคองอาการที่ทำได้ คือ การเตรียมยาลดไข้ ยาจำเป็นบางอย่างสำหรับอาการเสียน้ำ เช่น เกลือแร่ เป็นต้น

สำหรับเกณฑ์ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่กักตัวที่บ้าน จากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีดังนี้

ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ

อายุไม่เกิน 60 ปี

สุขภาพร่างกายแข็งแรง

อยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมไม่เกิน 1 คน

ไม่มีภาวะอ้วน

ไม่มีโรคร่วม ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง (ระยะ 3,4,5) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์

ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

ส่วนข้อปฏิบัติตัวและสังเกตอาการตัวเอง จาก ผศ.นพ.โอภาส อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ รพ.จุฬาลงกรณ์ มีดังนี้

เตรียมปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว วัดออกซิเจนด้วยวิธีเดิน 6 นาที

การวัดออกซิเจนด้วยวิธีเดิน 6 นาที (6 minutes walk test) เป็นการตรวจการแลกเปลี่ยนของก๊าซ ที่ดีกว่าการวัดแบบที่ผู้ป่วยนั่งอยู่เฉย ๆ เพราะเป็นค่าชี้วัดลำดับต้น ๆ ของการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ผิดปกติ ในผู้ป่วยบางคนที่มีพยาธิสภาพของปอด ซึ่งถ้าเป็นน้อย ๆ อยู่เฉย ๆ จะไม่มีอาการ จะไม่เหนื่อย แต่ถ้าเริ่มเดินสักพัก การแลกเปลี่ยนก๊าซจะลดลง ค่านี้จะช่วยบอก ว

วิธีการทำ 6 minutes walk test ก็คือให้ใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (pulse oximeter) วัดค่าออกซิเจนในเลือดแล้วจดไว้ เครื่องจะบอกค่าการแลกเปลี่ยนของค่าออกซิเจนในเลือดกับชีพจร จากนั้นให้เดินเป็นเวลา 6 นาที หรือ 3 นาทีสำหรับผู้สูงอายุ ไม่ต้องเดินเร็ว เดินไปเดินมาในห้อง แล้วกลับมาวัดซ้ำ ถ้าค่าลดลงมากกว่า 4 จากเดิมเท่าไหร่ก็ตาม ถือว่าผิดปกติ หรือถ้าวัดครั้งแรกได้น้อยกว่า 95 แสดงว่าผิดปกติตั้งแต่ต้น ให้โทรศัพท์ไปที่โรงพยาบาลและรายงานแพทย์ทันที

ส่วนใหญ่ดูที่อาการเหนื่อยและการมีไข้ โดยทั่วไปก่อนที่แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยมากักตัวที่บ้านได้จะต้องผ่านการเอ็กซเรย์ปอดมาแล้วเพื่อยืนยันว่าไม่มีอาการปอดอักเสบ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนอาจไม่มีอาการปอดอักเสบในตอนแรก แต่มามีอาการทีหลัง หากเป็นเช่นนี้ต้องกลับมาประเมินใหม่ที่โรงพยาบาล ซึ่งผู้ที่ปอดอักเสบมักจะต้องมีอาการเพิ่มขึ้น เช่น มีไข้ มีอาการเหนื่อย และค่าออกซิเจนในเลือดต่ำผิดปกติ

ถ้าผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงดี อายุไม่มาก การกักตัวที่บ้านถือว่าค่อนข้างปลอดภัย แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแย่ลงแต่ยังหาเตียงไม่ได้ จำเป็นที่ต้องรักษาตัวที่บ้านระหว่างรอเตียง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องระมัดระวัง แนะนำให้ดูอาการอย่างใกล้ชิดและวัดออกซิเจนวันละ 1-2 ครั้ง หากมีอาการเพิ่มขึ้น เช่น เหนื่อย ให้เตรียมออกซิเจนไว้น่าจะสำคัญที่สุด และการนอนคว่ำ (ศัพท์ทางการแพทย์เรียกการทำ prone) จะทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซดีขึ้น

ผู้ป่วยสีเขียวกักตัวที่บ้าน หากครบ 14 วัน ไม่ต้องสวอบหาเชื้ออีกครั้ง

ผู้ป่วยกักตัวที่บ้านและรักษาจนหายป่วยแล้ว แนะนำให้กักตัวต่ออย่างน้อย 14 วัน เพราะว่าช่วง 14 วันนี้เป็นช่วงที่ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ ขอให้กักตัวอยู่ในห้อง กินข้าวในห้องแยกจากคนอื่น แยกห้องน้ำ เมื่อครบ 14 วันแล้วสามารถใช้ชีวิตแบบ “นิวนอร์มอล” ได้ตามปกติ เพราะถือว่าพ้นระยะแพร่กระจายเชื้อแล้ว

คำถามที่ว่าเมื่อกักตัวครบ 14 วันหลังจากหายป่วยแล้ว จะต้องไปสวอบหาเชื้อซ้ำหรือไม่ ผศ.นพ.โอภาสกล่าวว่าไม่จำเป็น เพราะว่าหลังหายป่วยเชื้อจะน้อยลง แต่ไม่ได้หายไปหมด ดังนั้นการตรวจโดยวิธีการตรวจสวอบหรือว่าแยงโพรงจมูกจะยังเจอเชื้ออยู่ แต่ว่าเชื้อที่เจอเป็นซากเชื้อ คนจะเข้าใจผิดว่า พอออกมาแล้วหาย กลับมาทำงานจะต้องสวอบก่อนเข้าทำงาน จริง ๆ ไม่จำเป็น เพราะว่าอาจจะยังตรวจเจออยู่ แต่ว่าสิ่งที่ตรวจเจอ มันเป็นซากเชื้อทำให้เราเข้าใจผิดว่าเรายังไม่หายเสียที

แต่หากหายป่วยแล้ว กักตัวครบ 14 วันแล้วมีอาการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น คัดจมูก มีไข้ ก็แนะนำให้ไปทำสวอบซ้ำได้ และสำหรับผู้ที่หายป่วยแล้วเป็นเวลา 3 เดือน สามารถรับวัคซีนได้ตามปกติ 1 เข็ม

Related Post

นับถอยหลังอีกไม่กี่วันก็จะได้ไปสนุกสุดมันส์กันที่งาน LEO Presents Flex Aqua Fest 2023 กันแล้ว ใครมีสิทธิ์เข้างานอยู่ในมือ เก็บสิทธิ์ไว้ให้ดี Read more

เพจการละครเวทีในเดนมาร์ก Cirkusrevyen (Circus Revue) โพสต์คลิปวิดีโอสั้นๆ ของ สมเด็จพระราชินีมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งราชวงศ์เดนมาร์ก

ยายอายุ 70 ไปฉีดวัคซีน แต่หลงกับลูก เดินงงๆ จนได้ฉีดแอสตร้าฯ สองเข็มทั้งซ้ายขวา