site loader
site loader
25/10/2021 สธ.ย้ำฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม สู้เดลตาได้ ลุ้นฉีดเข็ม 3 ให้กลุ่มซิโนฟาร์มครบ 2 โดส ตั้งแต่ พ.ย.นี้

สธ.ย้ำฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม สู้เดลตาได้ ลุ้นฉีดเข็ม 3 ให้กลุ่มซิโนฟาร์มครบ 2 โดส ตั้งแต่ พ.ย.นี้

สธ.ย้ำฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม สู้เดลตาได้ ลุ้นฉีดเข็ม 3 ให้กลุ่มซิโนฟาร์มครบ 2 โดส ตั้งแต่ พ.ย.นี้

21 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมาที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงว่า สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แนวโน้มผู้ป่วยหายมากกว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้มีผู้ป่วยหาย 10,075 คน ผู้ป่วยที่มีอาการหนักก็มีจำนวนลดลงเหลือ 2,687 คน สอดคล้องกับผู้ที่มีอาการหนักมากหรือใส่ท่อช่วยหายใจขณะนี้ 603 คน ผู้เสียชีวิต 73 คน ส่วนผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 9,727 คน

ทั้งนี้ การระบาดของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ต้องระวังพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีการตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ศบค.ส่วนหน้าภาคใต้ นพ.โอภาส กล่าวต่อไปว่า การฉีดวัคซีนให้กับเด็กนักเรียนได้ดำเนินการไปตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม ขณะนี้ฉีดวัคซีนให้กับนักเรียนแล้ว 2,000,000 โดส สำหรับความกังวลในเรื่องของความปลอดภัยและประสิทธิภาพนั้น ในการประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพิจารณาแล้วว่า วัคซีนไฟเซอร์ที่นำมาฉีดให้เด็กนักเรียนอายุ 12-18 ปี ต้องฉีด 2 เข็มจึงจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่เพียงพอต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา

ส่วนความกังวลเรื่องการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ผู้เชี่ยวชาญได้ประชุมหารือกันพบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลข้างเคียง แต่อาการที่เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างน้อย หากเทียบกับเด็กที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาแล้วเกิดการอักเสบทั่วร่างกาย (MIS-C) รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการจากโรคจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่าการฉีดวัคซีน อีกทั้งผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนมักจะหายเองได้ จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 2 ในเด็กผู้ชายต่อไป แต่ให้เป็นไปตามความสมัครใจ ขึ้นกับความประสงค์ของผู้ปกครองและนักเรียน รวมทั้งแนะนำให้งดออกกำลังกายหนักภายหลังได้รับวัคซีนเป็นเวลา 7 วัน หากมีภาวะใจสั่น หายใจไม่อิ่ม หอบเหนื่อย ให้รีบพบแพทย์

ส่วนแนวโน้มการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้กับผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มครบ 2 เข็ม ว่า กำหนดการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นคาดว่าจะเป็นช่วงปลายพฤศจิกายนและต้นเดือนธันวาคม ทางคณะอนุกรรมการฯ ขอให้ทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ส่งเอกสารหลักฐานที่มีการศึกษาพบว่าจำเป็นต้องฉีดเข็มกระตุ้นเนื่องจากภูมิคุ้มกันลดลง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบก่อนจะพิจารณาและประกาศฉีดวัคซีนต่อไป

Related Post

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก CEO ของ Meta ออกมายืนยันเองว่า บริษัทกำลังพัฒนาทางเทคนิคเพื่อให้ผู้ใช้งาน Instagram สามารถนำ NFT Read more

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงประเด็นกัญชาว่า กัญชาเสรีเป็นเรื่องที่น่ากังวล หลังจากที่พบว่ามีคนเสียชีวิต

หลังจากที่สาธารณรัฐประชาชนจีน สามารถควบคุมสถานการณ์โควิด-19 จะเกือบจะกลับมาปกติได้แล้ว ล่าสดพบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในประเทศจีน

09/07/2021 มาอีกแล้ว! จับตาโควิดสายพันธุ์ “แลมบ์ดา” ระบาดแล้วเกือบ 30 ประเทศในอเมริกาใต้

มาอีกแล้ว! จับตาโควิดสายพันธุ์ “แลมบ์ดา” ระบาดแล้วเกือบ 30 ประเทศในอเมริกาใต้

มาอีกแล้ว! จับตาโควิดสายพันธุ์ “แลมบ์ดา” ระบาดแล้วเกือบ 30 ประเทศในอเมริกาใต้

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศการตรวจพบโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ “แลมบ์ดา” (Lambda) ใน 29 ประเทศ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์ดังกล่าว

รายงานประจำสัปดาห์ขององค์การฯ ระบุว่าโรคโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา ซึ่งพบครั้งแรกในเปรู จัดเป็นสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variant of Interest) เนื่องจากความชุกที่เพิ่มขึ้นในทวีปอเมริกาใต้

เปรูตรวจพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา สูงถึงร้อยละ 81 นับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะชิลีตรวจพบสายพันธุ์ดังกล่าวร้อยละ 32 ในช่วง 60 วันที่ผ่านมา เป็นรองเพียงสายพันธุ์แกมมา (Gamma) ที่พบครั้งแรกในบราซิล ส่วน ประเทศอื่นๆ อาทิ อาร์เจนตินาและเอกวาดอร์ รายงานความชุกที่เพิ่มขึ้นของสายพันธุ์ใหม่นี้เช่นกัน

องค์การฯ รายงานว่าสายพันธุ์แลมบ์ดามีการกลายพันธุ์ที่อาจเพิ่มความสามารถแพร่เชื้อ หรือทำให้เชื้อไวรัสฯ ต่อต้านแอนติบอดีมากขึ้น ทว่าหลักฐานที่มีอยู่ในขณะนี้ยังไม่เพียงพอและจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ ซึ่งแตกต่างจากสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern) เป็นสายพันธุ์ที่ต้องได้รับการเฝ้าระวังจากองค์การฯ แต่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อสุขภาพของประชาชน

ตัวอย่างล่าสุดคือสายพันธุ์เดลตา (Delta) ที่พบครั้งแรกในอินเดีย ซึ่งถูกจัดเป็น “สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ” จนถึงวันที่ 11 พ.ค. ก่อนองค์การฯ จะเปลี่ยนเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล เนื่องจากแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

Related Post
โควิด แอฟริกาใต้

เฟซบุ๊กแฟนเพจ เรื่องเล่าเช้านี้ รายงานว่า แหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยืนยัน ล่าสุด มีรายงานว่าพบเชื้อสายพันธุ์เบตา

พิทบูล

ศูนย์วิทยุหน่วยกู้ภัยมูลนิธิสว่างโรจนธรรมสถานสัตหีบ จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งจากประชาชนว่ามีสุนัขพันธุ์พิทบูล ตกท่อระบายน้ำบริเวณหน้าร้านสะดวกซื้อ

ขสมก.

เตรียมพร้อมเข้าสู่ Cashless Society ด้วยการรับชำระค่าโดยสารผ่านบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทของ ขสมก.