site loader
site loader
28/05/2021 เช็กก่อน ลงฉีดวัคซีน “ไทยร่วมใจ” หลังคนป่วนผุดเว็บไซต์ปลอม

เช็กก่อน ลงฉีดวัคซีน “ไทยร่วมใจ” หลังคนป่วนผุดเว็บไซต์ปลอม

เช็กก่อน ลงฉีดวัคซีน “ไทยร่วมใจ” หลังคนป่วนผุดเว็บไซต์ปลอม

ทางแฟนเพจ ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย Safe Bangkok ได้แจ้งเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อเว็บปลอม โดยระบุว่า ท่านใดเจอเว็บปลอม อย่างเช่นเว็บไซต์นี้ https://web-covid-survey.th-service.co.in ช่วยกันแจ้งมาหน่อยนะครับ เราจะรีบประสานไปเพื่อทำการปิดเว็บปลอมเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะลงทะเบียนจองวัคซีน “ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย” จะเปิดให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 18-59 ปี ซึ่งไม่ได้เป็น 7 กลุ่มโรคเสี่ยง สามารถลงทะเบียนจองวัคซีนผ่านหลายช่องทาง

โดยจะเริ่มเปิดรับลงทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค.64 เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป

โดยการลงทะเบียนแยกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ได้แก่ กลุ่มที่เคยเข้าร่วมโครงการภาครัฐ ผ่านแอปฯ “เป๋าตัง”

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการภาครัฐ สามารถลงทะเบียนบนเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com รอรับ SMS ยืนยันผลการได้รับวัคซีน

จากนั้นจึงนัดวัน เวลา สถานที่ เพื่อเข้ารับบริการฉีดวัคซีน

กลุ่มที่ 3 ได้แก่ กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน สามารถให้บุคคลในครอบครัวลงทะเบียนแทนได้ ผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่ลงทะเบียนแทน โดยระบบจะส่ง SMS แจ้งเตือนตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน หรือ สามารถลงทะเบียนที่ร้านค้าสะดวกซื้อ ตั้งแต่เวลา 08.30-18.00 น. ดังนี้

เซเว่น อีเลฟเว่น (7-eleven)

แฟมิลี่มาร์ท (Family Mart)

ท็อปส์ เดลี่ (Tops Daily)

มินิบิ๊กซี (mini Big C)

Related Post

เพจการละครเวทีในเดนมาร์ก Cirkusrevyen (Circus Revue) โพสต์คลิปวิดีโอสั้นๆ ของ สมเด็จพระราชินีมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งราชวงศ์เดนมาร์ก

กระแสการเกลียดชังคนเอเชียยังคงรุนแรงในโลกอย่างต่อเนื่อง วงบอยแบนด์จากเกาหลีใต้ BTS ก็อยากที่จะเป็นส่วนนึงนารร่วมรณรงค์ให้ยุติปัญหานี้

ชื่นชม เด็กหนุ่มวัย 17 ปี สอบติด 4 เหล่าทัพ ด้วยคะแนนที่ 1 เผยบ้านยากจนแต่มีมานะ

21/05/2021 ไขข้อข้องใจ “ติดเชื้อหายแล้ว ต้องฉีดวัคซีนมั้ย?” หมอยง มีคำตอบ!!!

ไขข้อข้องใจ “ติดเชื้อหายแล้ว ต้องฉีดวัคซีนมั้ย?” หมอยง มีคำตอบ!!!

ไขข้อข้องใจ “ติดเชื้อหายแล้ว ต้องฉีดวัคซีนมั้ย?” หมอยง มีคำตอบ!!!

หมอยง

ข้อสงสัยของการฉีดวัคซีนเยอะมากทีเดียว วันนี้ Flex 104.5 เลยอยากจะ ขอนำโพสต์ที่น่าสนใจ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันนะ

โดยในโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับ วัคซีนโควิด19 ที่สงสัยกันเยอะว่า “โควิด-19 วัคซีน ผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 จำเป็นที่จะต้องให้วัคซีนหรือไม่” ในปัจจุบันทราบกันดีอยู่แล้วว่า โรคโควิด-19 เมื่อหายแล้วสามารถเป็นกลับซ้ำได้อีก ส่วนใหญ่จะเป็นหลัง 3 เดือนไปแล้ว ผู้ที่เป็นโควิด-19 แล้วจึงมีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนหลัง 3 เดือนไปแล้ว

จากการศึกษาเบื้องต้นที่ลงพิมพ์ในวารสาร Nature Medicine พบว่า การให้วัคซีนในผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19 แล้ว การให้เพียงครั้งเดียวจะมีระดับภูมิต้านทานกระตุ้นได้สูงเท่ากับคนธรรมดาที่ไม่เคยป่วยและให้วัคซีนครบ 2 ครั้ง ผู้ที่หายป่วยควรได้รับวัคซีนหลังจาก 3 เดือน นับจากการติดเชื้อ ส่วนจะให้ 1 ครั้งหรือ 2 ครั้ง ยังไม่ได้สรุปออกมาชัดเจน แต่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าภูมิต้านทานของผู้ที่หายป่วยแล้วจะเริ่มลดลงหลัง 6 เดือนและลดลงไปเรื่อยๆ

ทางศูนย์ฯ ที่ดูแลอยู่ขณะนี้ทำการศึกษาในผู้ที่หายป่วยในช่วง 3-6 เดือน จะให้วัคซีนกระตุ้น 1 ครั้ง และผู้ที่หายป่วยเกินกว่า 6 เดือน หรือเป็นปีแล้วจะให้วัคซีนให้ครบ 2 ครั้ง และกำลังตรวจผลภูมิต้านทาน รวมทั้งระบบหน่วยความจำของภูมิต้านทานอย่างละเอียดเพื่อจะได้ใช้เป็นคำแนะนำ ขณะนี้โครงการได้เริ่มแล้วดำเนินไปได้ด้วยดีและอยากเชิญชวนคนที่หายป่วยในระลอกที่ 3 นี้ เข้าร่วมโครงการได้รับวัคซีนด้วย

สรุปว่า ผู้ที่หายป่วยแล้วควรได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อย 1 ครั้ง หรือขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่หายป่วยมาแล้ว ถ้าเพิ่งหายป่วยในช่วง 3-6 เดือน ควรได้รับอย่างน้อย 1 ครั้ง และผู้ที่หายมาแล้วเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป ก็ควรจะได้รับวัคซีนให้ครบ 2 ครั้ง ทั้งนี้ เพราะประเทศของเรามีวัคซีนในปริมาณที่จำกัดและมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่มีการติดเชื้อในรอบที่ 3 และกำลังจะหายป่วย

เพราะฉะนั้นใครที่ยังมีข้อข้องใจกับการฉีดวัคซีน ในขณะที่หายป่วยแล้ว หวังว่านี้จะเป็นข้อมูลส่วนหนึ่ง เพื่อประกอบการตัดสินใจในการดูแลสุขภาพตัวเอง ครอบครัว และ คนรอบข้างนะ

Related Post

ร้านโอโนะ คาเฟ่ ร้านกาแฟมินิมอล สไตล์ญี่ปุ่นที่มีเมนูเครื่องดื่มกว่า 60 ชนิด แต่ที่โดดเด่นคือ เครื่องดื่มรวย มีธูปตัวเลขและเทียนกินได้

วัคซีน ไฟเซอร์

วัคซีน​ไฟเซอร์​ ที่รับบริจาคมาจากสหรัฐ​อเมริก ต้องเก็บในคลังวัคซีน​ที่กำหนดไว้ เนื่องจากการเก็บวัคซีนไฟเซอร์ จะต้องเก็บในอุณหภูมิ​ -​70 องศาเซลเซียส​

ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์

อ.นิธิ แนะนำ วิธีทานยา “ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์” จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมช่องทางติดต่อรับยา