site loader
site loader
06/08/2021 อ.นิธิ แนะนำ วิธีทานยา “ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์” จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมช่องทางติดต่อรับยา

อ.นิธิ แนะนำ วิธีทานยา “ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์” จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมช่องทางติดต่อรับยา

อ.นิธิ แนะนำ วิธีทานยา “ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์” จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมช่องทางติดต่อรับยา

หลังจากเปิดตัว ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ ที่วิจัยโดย งานเภสัชกรรมฯ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด เรียบร้อยแล้ว  อ.นิธิ ได้เล่าถึงเรื่องตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาน้ำเชื่อมปราศจากน้ำตาล ลักษณะเป็นยาน้ำใส สีส้ม รสราสเบอรี่ มี 2 ขนาด คือ ขนาด 800 มิลลิกรัมใน 60 มิลลิลิตร และ ขนาด 1,800 มิลลิกรัมใน 135 มิลลิลิตร รับประทานยาขณะท้องว่าง วันละ 2 ครั้ง ห่างกันทุก 12 ชั่วโมง

ขนาดและวิธีการใช้ยาในเด็ก วันแรก รับประทานขนาด 60 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน แบ่งให้ วันละ 2 ครั้ง และวันต่อมา ขนาด 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน แบ่งให้ วันละ 2 ครั้ง

ขนาดและวิธีการใช้ยาในผู้ใหญ่ วันแรกรับประทาน ขนาด 1,800 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง และวันต่อมาขนาด 800 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง กรณีน้ำหนักตัวมากกว่า 90 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กก/ตรม. วันแรกรับประทาน ขนาด 2,400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง และวันต่อมา ขนาด 1,000 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

ส่วนช่องทางติดต่อรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์  ในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กและผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่ให้อาหารทางสายที่มีผลการตรวจ RT- PCR ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ที่อยู่ในระบบการดูแลของโรงพยาบาล หรือเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน Home Isolation ที่มีแพทย์ติดตามหรือในผู้ที่แพทย์เห็นสมควรจากประวัติสัมผัสและผลตรวจ Rapid Antigen Test เป็นบวก

สามารถติดต่อเพื่อขอรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยนำผลยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 เข้ามาพบแพทย์และรับยาได้ที่ favipiravir.cra.ac.th หรือโทร 064-586-2470 ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม เป็นต้นไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายน โดยในระยะแรกโรงพยาบาลจุฬาภรณ์สามารถผลิตได้จำกัดเพียงไม่เกิน 100 รายต่อสัปดาห์ และยานี้ต้องใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น

Related Post
ไฟเซอร์

กระทรวงสาธารณสุข ขอจัดส่งวัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อลดการป่วยรุนแรงและอัตราการเสียชีวิต

วัคซีน

หลังจากโควิดสายพันธุ์เดลต้าเริ่มแพร่ระบาดในประเทศไทย ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับวัคซีนที่มีไม่รองรับสายพันธุ์เดลต้า

Pfizer

ในการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่โชคดีและสามารถจัดสรรหาวัคซีนได้ครอบคลุมและมากพอต่อความต้องการของประชากร

06/08/2021 ข่าวดี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ วิจัยสำเร็จแล้ว ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์

ข่าวดี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ วิจัยสำเร็จแล้ว ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์

ข่าวดี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ วิจัยสำเร็จแล้ว ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้คิดค้น “ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์” เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเด็ก และผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาชนิดเม็ด ได้รับประทานยาได้ง่ายยิ่งขึ้น

โดย ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลับจุฬาภรณ์ ได้เผยถึงที่มาของการวิจัยในครั้งนี้ ว่า ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ ยาต้านเชื้อไวรัส ถือเป็นตำรับแรกในประเทศไทย ที่ถูกพัฒนาและคิดค้นสูตรโดย งานเภสัชกรรมฯ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด สำหรับผลิตในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (Hospital preparation) เพื่อนำมาใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส

ปกติแล้วตัวยาดังกล่าว มีไว้ใช้สำหรับรักษาไข้หวัดใหญ่ แต่มีรายงานเบื้องต้นว่าสามารถช่วยลดอาการป่วยรุนแรงของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ได้ยาเร็วในระยะเริ่มต้นของอาการ โดยยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์

เน้นใช้ในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยสูงอายุ ที่กลืนยาเม็ดลำบาก โดยมุ่งหวังเพื่อช่วยเหลือประเทศไทยให้สามารถผลิตยาให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมได้และพบการติดเชื้อในเด็กเพิ่มมากขึ้น

อีกทั้งเพื่อเป็นการสนองพระนโยบายศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ทรงมีความห่วงใยและตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19 จะสามารถเข้าถึงยารักษาโรคฟาวิพิราเวียร์ได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วอีกด้วย

Related Post
WHO

นักวิชาการ WHO แจ้งตรวจสอบพบพาดหัว-ตัดต่อเนื้อหาทำเข้าใจผิดตามที่มีการแชร์ข่าวและข้อมูลว่า “WHO เตือนเลี่ยงฉีดวัคซีนผสมสูตร"

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มทำการทดสอบวัคซีนที่ผลิตโดยคนไทย “ChulaCov19” (จุ-ฬา-คอฟ-ไนน์-ทีน)​ เฟสแรกในมนุษย์

ซิโนฟาร์ม

เพจ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ Chulabhorn Royal Academy แจ้งรายงานผลสรุปจำนวนองค์กรที่ยื่นความประสงค์ขอรับวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม”