site loader
site loader
27/07/2021 หมอจุฬาฯ แนะนำ “Home Isolation” ที่บ้าน ให้ประชาชนเตรียมรับมือ

หมอจุฬาฯ แนะนำ “Home Isolation” ที่บ้าน ให้ประชาชนเตรียมรับมือ

หมอจุฬาฯ แนะนำ “Home Isolation” ที่บ้าน ให้ประชาชนเตรียมรับมือ

แน่นอนว่า ตอนนี้ประเทศไทย ประสบปัญหาในเรื่องของผู้ป่วยที่ติดเชื้อสูงมากกว่า 15,000 คน รวมทั้งมีอาการที่หลายระดับ ทำให้แนวคิดเรื่องของ “Home Isolation” จึงเริ่มเป็นสิ่งที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมตัวรับมือ

ซึ่งหากคุณติดโควิด-19 อาการไม่หนักและแพทย์ให้รักษาตัวที่บ้านหรือ Home Isolation คุณควรดูแลตัวเองอย่างไร

ผศ.นพ. โอภาส พุทธเจริญ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและดูแลตัวเอง เมื่อเป็นผู้ป่วยโรคโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่เข้าเกณฑ์รักษาตัวที่บ้าน รวมถึงผู้ป่วยที่อาการหนักแต่ยังต้องรอเตียงอยู่ที่บ้าน

อันดับแรกคือ ไม่ควรเดินทางออกนอกที่พัก แยกการใช้ชีวิตกับผู้อื่นในบ้าน ทั้งอาหารการกิน หรืออยู่ในห้องเดี่ยวที่อากาศถ่ายเทได้ดี หากทำไม่ได้ให้แยกจากคนอื่นให้มากที่สุด ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่นหรือต้องใช้หลังสุดและทำความสะอาดหลังใช้เสร็จแล้ว

ถ้าอาการหนักมากขึ้น คำแนะนำโดยทั่วไป คือ ต้องไปโรงพยาบาล แต่ถ้ายังไม่สามารถเข้าโรงพยาบาลได้ การประคับประคองอาการที่ทำได้ คือ การเตรียมยาลดไข้ ยาจำเป็นบางอย่างสำหรับอาการเสียน้ำ เช่น เกลือแร่ เป็นต้น

สำหรับเกณฑ์ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่กักตัวที่บ้าน จากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีดังนี้

ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ

อายุไม่เกิน 60 ปี

สุขภาพร่างกายแข็งแรง

อยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมไม่เกิน 1 คน

ไม่มีภาวะอ้วน

ไม่มีโรคร่วม ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง (ระยะ 3,4,5) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์

ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

ส่วนข้อปฏิบัติตัวและสังเกตอาการตัวเอง จาก ผศ.นพ.โอภาส อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ รพ.จุฬาลงกรณ์ มีดังนี้

เตรียมปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว วัดออกซิเจนด้วยวิธีเดิน 6 นาที

การวัดออกซิเจนด้วยวิธีเดิน 6 นาที (6 minutes walk test) เป็นการตรวจการแลกเปลี่ยนของก๊าซ ที่ดีกว่าการวัดแบบที่ผู้ป่วยนั่งอยู่เฉย ๆ เพราะเป็นค่าชี้วัดลำดับต้น ๆ ของการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ผิดปกติ ในผู้ป่วยบางคนที่มีพยาธิสภาพของปอด ซึ่งถ้าเป็นน้อย ๆ อยู่เฉย ๆ จะไม่มีอาการ จะไม่เหนื่อย แต่ถ้าเริ่มเดินสักพัก การแลกเปลี่ยนก๊าซจะลดลง ค่านี้จะช่วยบอก ว

วิธีการทำ 6 minutes walk test ก็คือให้ใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (pulse oximeter) วัดค่าออกซิเจนในเลือดแล้วจดไว้ เครื่องจะบอกค่าการแลกเปลี่ยนของค่าออกซิเจนในเลือดกับชีพจร จากนั้นให้เดินเป็นเวลา 6 นาที หรือ 3 นาทีสำหรับผู้สูงอายุ ไม่ต้องเดินเร็ว เดินไปเดินมาในห้อง แล้วกลับมาวัดซ้ำ ถ้าค่าลดลงมากกว่า 4 จากเดิมเท่าไหร่ก็ตาม ถือว่าผิดปกติ หรือถ้าวัดครั้งแรกได้น้อยกว่า 95 แสดงว่าผิดปกติตั้งแต่ต้น ให้โทรศัพท์ไปที่โรงพยาบาลและรายงานแพทย์ทันที

ส่วนใหญ่ดูที่อาการเหนื่อยและการมีไข้ โดยทั่วไปก่อนที่แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยมากักตัวที่บ้านได้จะต้องผ่านการเอ็กซเรย์ปอดมาแล้วเพื่อยืนยันว่าไม่มีอาการปอดอักเสบ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนอาจไม่มีอาการปอดอักเสบในตอนแรก แต่มามีอาการทีหลัง หากเป็นเช่นนี้ต้องกลับมาประเมินใหม่ที่โรงพยาบาล ซึ่งผู้ที่ปอดอักเสบมักจะต้องมีอาการเพิ่มขึ้น เช่น มีไข้ มีอาการเหนื่อย และค่าออกซิเจนในเลือดต่ำผิดปกติ

ถ้าผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงดี อายุไม่มาก การกักตัวที่บ้านถือว่าค่อนข้างปลอดภัย แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแย่ลงแต่ยังหาเตียงไม่ได้ จำเป็นที่ต้องรักษาตัวที่บ้านระหว่างรอเตียง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องระมัดระวัง แนะนำให้ดูอาการอย่างใกล้ชิดและวัดออกซิเจนวันละ 1-2 ครั้ง หากมีอาการเพิ่มขึ้น เช่น เหนื่อย ให้เตรียมออกซิเจนไว้น่าจะสำคัญที่สุด และการนอนคว่ำ (ศัพท์ทางการแพทย์เรียกการทำ prone) จะทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซดีขึ้น

ผู้ป่วยสีเขียวกักตัวที่บ้าน หากครบ 14 วัน ไม่ต้องสวอบหาเชื้ออีกครั้ง

ผู้ป่วยกักตัวที่บ้านและรักษาจนหายป่วยแล้ว แนะนำให้กักตัวต่ออย่างน้อย 14 วัน เพราะว่าช่วง 14 วันนี้เป็นช่วงที่ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ ขอให้กักตัวอยู่ในห้อง กินข้าวในห้องแยกจากคนอื่น แยกห้องน้ำ เมื่อครบ 14 วันแล้วสามารถใช้ชีวิตแบบ “นิวนอร์มอล” ได้ตามปกติ เพราะถือว่าพ้นระยะแพร่กระจายเชื้อแล้ว

คำถามที่ว่าเมื่อกักตัวครบ 14 วันหลังจากหายป่วยแล้ว จะต้องไปสวอบหาเชื้อซ้ำหรือไม่ ผศ.นพ.โอภาสกล่าวว่าไม่จำเป็น เพราะว่าหลังหายป่วยเชื้อจะน้อยลง แต่ไม่ได้หายไปหมด ดังนั้นการตรวจโดยวิธีการตรวจสวอบหรือว่าแยงโพรงจมูกจะยังเจอเชื้ออยู่ แต่ว่าเชื้อที่เจอเป็นซากเชื้อ คนจะเข้าใจผิดว่า พอออกมาแล้วหาย กลับมาทำงานจะต้องสวอบก่อนเข้าทำงาน จริง ๆ ไม่จำเป็น เพราะว่าอาจจะยังตรวจเจออยู่ แต่ว่าสิ่งที่ตรวจเจอ มันเป็นซากเชื้อทำให้เราเข้าใจผิดว่าเรายังไม่หายเสียที

แต่หากหายป่วยแล้ว กักตัวครบ 14 วันแล้วมีอาการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น คัดจมูก มีไข้ ก็แนะนำให้ไปทำสวอบซ้ำได้ และสำหรับผู้ที่หายป่วยแล้วเป็นเวลา 3 เดือน สามารถรับวัคซีนได้ตามปกติ 1 เข็ม

Related Post

ทนายแก้ว ทนายมนต์ชัย จงไกรรัตนกุล ทนายโซเชียล ทนายเซเลปคนดัง ของรายการข่าวหลากหลายรายการ ออกโรงคดีดัง BMZ4 ซิ่งชนยับที่เพชรบูรณ์

ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์

อ.นิธิ แนะนำ วิธีทานยา “ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์” จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมช่องทางติดต่อรับยา

ไม้ด่าง

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา บรรยากาศที่ตลาดคำเที่ยง อ.เมืองเชียงใหม่ แหล่งจำหน่ายพันธุ์ไม้ใหญ่ที่สุดของจังหวัด เต็มไปด้วยความคึกคัก

27/07/2021 กระทรวงมหาดไทย รอหนังสือขอสัญชาติ “โค้ชเช” เผยยินดีดำเนินการทันที

กระทรวงมหาดไทย รอหนังสือขอสัญชาติ “โค้ชเช” เผยยินดีดำเนินการทันที

กระทรวงมหาดไทย รอหนังสือขอสัญชาติ “โค้ชเช” เผยยินดีดำเนินการทันที

หลังจากที่ทำผลงานให้กับ วงการกีฬาเทควันโด ให้กับประเทศไทยยาวนานกว่า 19 ปี ในที่สุดผลงานของ “โค้ชเช” หรือ เช ยอง ซอก ในฐานะ Head Coach ประจำเทควันโดทีมชาติไทย ก็เตรียมตัวที่จะยื่นขอเอกสาร เพื่อ “โอนสัญชาติ” เพื่อเป็น คนไทยอย่างเต็มตัวแล้ว

โดยเมื่อวันที่ 25 ก.ค. นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีการให้สัญชาติไทยกับโค้ชเช ยอง ซอก หัวหน้าผู้ฝึกสอนเทควันโดทีมชาติไทยว่า

ขณะนี้กรมการปกครองยังไม่ได้รับเอกสารหลักฐาน เรื่องการขอสัญชาติจากโค้ชเชแต่อย่างใด หากมีการยื่นเอกสารหลักฐานเข้ามาอย่างถูกต้อง อาทิ หลักฐานการพักอาศัยอยู่ในเมืองไทย หลักฐานการเสียภาษี ใบอนุญาตทำงาน โดยเฉพาะหนังสือสละสัญชาติของโค้ชเช กรมการปกครองก็พร้อมพิจารณาเอกสารหลักฐาน ร่วมทั้งผู้ขอแปลงสัญญชาติประพฤติตนตรงกับ พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 จะดำเนินการตามกฎหมายให้อย่างรวดเร็วที่สุด เนื่องจากเป็นบุคคลที่ทำคุณงามความดีให้กับประเทศไทย คาดว่าไม่มีปัญหาอะไร โค้ชเช ก็จะได้สัญชาติไทยโดยสมบูรณ์แน่นอน

Related Post

แชคิล โอนีล (Shaquille O'Neal) อดีตนักกีฬาบาสเกตบอลชาวอเมริกันชื่อดัง ได้ออกมาเปิดใจเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวและชีวิตของลูก ๆ ทั้ง 6 คน

ชิโนฟาร์ม

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) เป็นที่เรียบร้อย

ประกันโควิด

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ กล่าวว่า เคยออกข่าวเตือนประชาชนไม่ให้หลงเชื่อกรณีมีการชักจูงให้ผู้เอาประกันภัยโควิด-19 เพื่อจะได้เคลมเงินประกัน

27/07/2021 “น้องเทนนิส” หอบเหรียญทองกลับไทยแล้ว “ชาวภูเก็ต” ร่วมต้อนรับแน่น

“น้องเทนนิส” หอบเหรียญทองกลับไทยแล้ว “ชาวภูเก็ต” ร่วมต้อนรับแน่น

“น้องเทนนิส” หอบเหรียญทองกลับไทยแล้ว “ชาวภูเก็ต” ร่วมต้อนรับแน่น

“น้องเทนนิส” พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ จอมเตะสาวไทยเบอร์ 1 โลกรุ่น 49 กก.หญิงวัย 24 ปี ซึ่งคว้าเหรียญทองประวัติศาสตร์เหรียญแรกให้ทีมเทควันโดไทย และเหรียญแรกให้ทัพนักกีฬาไทย ในโอลิมปิกเกมส์ 2020 พร้อมด้วย “จูเนียร์” รามณรงค์ เสวกวิหารี, “โค้ชเช” เช ยอง ซ็อก เฮดโค้ชชาวเกาหลีใต้ และทีมเทควันโดไทย เดินทางกลับจากญี่ปุ่น ด้วยสายการบินสิงคโปร์ แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ 726 ถึงสนามบินภูเก็ต เมื่อช่วงเช้าวันที่ 26 กรกฎาคม เวลา 09.25 น. โดยคณะดังกล่าวมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมเดินทางกลับมาด้วย

บรรยากาศที่สนามบินนานาชาติภูเก็ต มี ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) คณะผู้บริหาร, นายสิริชัย วงศ์พัฒนกิจ พ่อของ น้องเทนนิส , “บิ๊กเอ” นายพิมล ศรีวิกรม์ นายกสมาคมกีฬาเทควันโดฯ รวมถึงประชาชน และสื่อมวลชนให้การต้อนรับฮีโร่กลับบ้านเป็นจำนวนมาก

สำหรับ “น้องเทนนิส” และทีมเทควันโดไทย จะเข้าพักในนโยบาย “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” ที่โรงแรมโนโวเทล ภูเก็ต ซิตี้ โภคีธรา สุดหรูระดับ 5 ดาว นอกจากนี้การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ได้จัดให้มีขบวนแห่ฉลองเหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ให้กับน้องเทนนิสที่ภูเก็ต ภายใต้มาตรการการเฝ้าระวังที่เข้มงวด เนื่องจากยังจะต้องรอผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ของน้องเทนนิส และทีมงาน 12 ชั่วโมงหลังจากเดินทางกลับถึงไทย รวมทั้งเตรียมที่จะจัดงานเลี้ยงต้อนรับนักกีฬาไทยชุดโอลิมปิกเกมส์ ที่ภูเก็ตด้วย

Related Post
ครูลูกกอล์ฟ

ครูลูกกอล์ฟ ออกตัวผ่านอินสตาแกรม loukgolflgถึง ‘พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ในวงการ’  จากนั้นก็แสดงความเห็นแบบ ‘ด้วยรักและเคารพนะคะ ’

มูลนิธิ เลิฟ อิส มิวสิค (LOVEiS Music Foundation) จากปณิธานและการก่อตั้งโดย คุณเทพอาจ กวินอนันต์ Read more

ยาคุม

พล.อ.ท.นพ. การุณ เก่งสกุล ได้ออกประกาศราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยที่ 07/2564 เรื่อง การฉีดวัดซีนป้องกันโรคโควิด-19 และการใช้ยาคุมกำเนิด

15/07/2021 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพาดหัวคำเตือนจาก WHO พบบิดเบือนจากความหมาย!!!

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพาดหัวคำเตือนจาก WHO พบบิดเบือนจากความหมาย!!!

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพาดหัวคำเตือนจาก WHO พบบิดเบือนจากความหมาย!!!

จากกระแสฮือฮาเรื่อง WHO ออกเตือน ว่าฉีดวัคซีน 2 ยี่ห้อไม่ปลอดภัย ทางนักวิชาการ WHO แจ้งตรวจสอบพบพาดหัว-ตัดต่อเนื้อหาทำเข้าใจผิดตามที่มีการแชร์ข่าวและข้อมูลว่า “WHO เตือนเลี่ยงฉีดวัคซีนผสมสูตร โดยระบุว่าเป็นอันตราย หรือ “dangerous trend” นั้น

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความที่รายงานข่าวในประเทศไทยนั้น แปลมาจากข่าวที่รายงานโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ ซึ่งพาดหัวว่า “WHO warns against mixing and matching COVID vaccines” ซึ่งเผยแพร่เมื่อ 00.40 น. 13 ก.ค. 64 ตามเวลาในประเทศไทย โดยมีข้อความบางส่วนจากคำพูดของ Dr.Soumya Swaminathan หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ องค์การอนามัยโลกท่านดังกล่าว ได้แก่ “It’s a little bit of a dangerous trend here. We are in a data-free, evidence-free zone as far as mix and match,”และ”It will be a chaotic situation in countries if citizens start deciding when and who will be taking a second, a third and a fourth dose.”

(ข่าวต้นฉบับ] https://www.reuters.com/…/status/1414640744762073089)

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ข่าวเผยแพร่ออกไป เมื่อเวลา 01.44 น. 13 ก.ค. 64 หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ องค์การอนามัยโลกท่านนั้น ได้เขียนข้อความบนบัญชีทวิตเตอร์ส่วนตัว โดยอ้างอิงข่าวดังกล่าว โดยอธิบายเพิ่มเติมว่า “บุคคลทั่วไป ไม่ควรตัดสินใจด้วยตัวเอง แต่ควรเป็นหน่วยงานสาธารณสุขตัดสินใจบนฐานของข้อมูลที่มี…”

(ข่าวต้นฉบับ) “Individuals should not decide for themselves, public health agencies can, based on available data. Data from mix and match studies of different vaccines are awaited – immunogenicity and safety both need to be evaluated” https://twitter.com/doctors…/status/1414657053180809224…

นอกจากนั้น Dr.Soumya ยังรีทวิตและแสดงความขอบคุณ Menaka Pai แพทย์นักวิชาการอีกท่านหนึ่ง ที่เขียนทวีตว่า พาดหัวข่าวเรื่องที่ออกมาเตือนการผสมวัคซีนนั้น เป็นการพาดหัวที่ทำให้เข้าใจผิด เช่นข้อความที่แปลได้ว่า

“Dr.Soumya ต้องการเตือนไม่ให้บุคคลทั่วไป ‘ช็อปปิ้งวัคซีน’ ด้วยตัวเอง โดยไม่อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานสาธารณสุข (รวมทั้งการตัดสินใจฉีดโดส 3 หรือ 4 เอง)” “เธอไม่ได้บอกว่า นโยบายวัคซีนของแต่ละประเทศเป็นอันตราย”

(https://twitter.com/mpaimd/status/1414670469312172033…)

ดังนั้น ข้อความที่อยู่บนพาดหัวข่าว และมีการนำมารายงานต่อกันนั้น จึงไม่สอดคล้องตรงกับบริบทและจุดมุ่งหมายของผู้ที่กล่าวข้อความแต่อย่างใด

ส่วนแนวทางการ Mix & Match สลับวัคซีนนั้น มีข้อมูลการดำเนินการศึกษาและส่งเสริมในบางประเทศ เช่น แคนาดา https://www.cp24.com/…/canadian-health-officials-defend… รวมทั้งล่าสุดในประเทศไทย

Related Post
Pfizer

ในการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่โชคดีและสามารถจัดสรรหาวัคซีนได้ครอบคลุมและมากพอต่อความต้องการของประชากร

ในเฟซบุ๊กเพจ "ร้านเจ้เล้ง" ร้านขายส่งชื่อดังย่านดอนเมืองชื่อดัง โพสต์คลิปวิดีโอ ขณะ นางอารียฉัตร อภิสิทธิ์อมรกุล หรือ เจ้เล้ง เจ้าของร้านคนดัง

ป้อง ณวัฒน์

“ป้อง ณวัฒน์” เดินทางไป ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เพื่อบริจาคพลาสมา สร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ป่วยโควิด