site loader
site loader
04/06/2021 สหรัฐฯ เตรียมแผนแบ่งปันวัคซีนไปยังประเทศอื่นรวมกว่า 80 ล้านโดส หนึ่งในนั้นอาจมี “ไทย”

สหรัฐฯ เตรียมแผนแบ่งปันวัคซีนไปยังประเทศอื่นรวมกว่า 80 ล้านโดส หนึ่งในนั้นอาจมี “ไทย”

สหรัฐฯ เตรียมแผนแบ่งปันวัคซีนไปยังประเทศอื่นรวมกว่า 80 ล้านโดส หนึ่งในนั้นอาจมี “ไทย”

รัฐบาลสหรัฐฯ กล่าวในแถลงการณ์วันพฤหัสบดีว่ามีแผนที่จะแบ่งปันวัคซีนต้านโควิด-19 จำนวนอย่างน้อย 80 ล้านโดส ให้แก่ประเทศต่างๆ ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน และมีชื่อประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศผู้รับ

ทำเนียบขาวให้รายละเอียดว่าในชุดแรกจะมีการแบ่งปัน 25 ล้านโดส ซึ่งแยกเป็นประมาณ 19 ล้านโดส ผ่านกลุ่มประเทศที่อยู่ในโครงการร่วมมือทางวัคซีนนานาชาติ โคแวกซ์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก

และอีกประมาณ 6 ล้านโดส เป็นการให้ต่อประเทศผู้รับที่เป็น หุ้นส่วน” (partner recipients) และประเทศที่มี “ลำดับความสำคัญต้นๆ” ระดับภูมิภาค (regional priorities) ซึ่งประกอบด้วยเม็กซิโก แคนาดา เกาหลีใต้ อินเดีย เขตเวสต์แบงค์และกาซา ยูเครน โคโซโว เฮติ และอิรัก เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีเจ้าหน้าที่สหประชาชาติที่ทำงาน “ด่านหน้า” อยู่ในกลุ่มผู้รับอีกด้วย

ทั้งนี้ ไทยอยู่ในกลุ่มเแรกที่ได้แบ่งวัคซีนกับประเทศอื่นๆ เกือบ 19 ล้านโดส ในจำนวนนี้สหรัฐฯ จะแบ่งให้ ภูมิภาคเอเชีย ประมาณ 7 ล้านโดส โดยไทยเป็นผู้รับหนึ่งใน 16 ประเทศและเขตแดนในเอเชียตามข้อมูลในแถลงการณ์

เนื่องจากสหรัฐฯ จะแบ่งปันต่อกลุ่มประเทศเหล่านี้ผ่าน “โคแวกซ์” จึงเกิดข้อสงสัยว่าไทย ซึ่งมิได้อยู่ในโครงการโคแวกซ์สำหรับวัคซีนต้านโควิด-19 จะได้รับวัคซีนในลักษณะใด

วีโอเอได้ติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายไทยและทำเนียบขาว แต่ยังไม่ได้รับคำตอบในเรื่องนี้

ส่วนภูมิภาคอื่นๆ นอกจากเอเชีย ที่จะได้วัคซีนผ่าน “โคแวกซ์” ในกลุ่ม 19 ล้านโดส ประกอบด้วยผู้รับในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ประมาณ 6 ล้านโดส และในแอฟริกาประมาณ 5 ล้านโดส

Related Post

อย่าหาทำ! นักท่องเที่ยวส่งดินคืนปราสาทพนมรุ้งทางไปรษณีย์ คาดเจออาถรรพ์ เจ้าหน้าที่เผยไม่ใช่รายแรกที่โดน

วัคซีน

มีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งที่ออกมาประกาศเลื่อนคิวการฉีดวัคซีนที่มีการนัดหมายไว้ในวันที่ 14-20 มิถุนายนออกไป

ไฟเซอร์

FDA ประกาศเพิ่มคำเตือนลงในฉลากและใบแสดงข้อเท็จจริงการใช้วัคซีนของไฟเซอร์ และโมเดอร์นา ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด mRNA

04/06/2021 ไม่ปล่อยให้คอยนาน “อนุทิน” เผย ส่งวัคซีนโควิด 1.1 ล้านโดส ไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศแล้ว

ไม่ปล่อยให้คอยนาน “อนุทิน” เผย ส่งวัคซีนโควิด 1.1 ล้านโดส ไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศแล้ว

ไม่ปล่อยให้คอยนาน “อนุทิน” เผย ส่งวัคซีนโควิด 1.1 ล้านโดส ไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศแล้ว

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมเรื่องวัคซีนโควิด-19 ว่า ล่าสุดเมื่อวานนี้ (1 มิ.ย.) ได้ส่งวัคซีนประมาณ 1.1 ล้านโดส ทั้งของแอสตร้าเซนเนก้าและซิโนแวกกระจายลงไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศแล้ว เพื่อนำไปฉีดบริการให้ประชาชนมากที่สุด ส่วนการจัดสรรวัคซีนนั้น ทางรัฐบาลยึดหลักความเป็นธรรม คำนึงถึงสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่

สำหรับการจัดหาวัคซีนของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ผู้ผลิตและรัฐต่างมีสัญญาระหว่างกันที่ต้องยึดถือ กรมควบคุมโรคจะต้องตกลงกับบริษัทฯ ในเรื่องของความต้องการและกำลังการจัดส่งที่สอดคล้องกัน และต้องหารือให้ได้บทสรุปในแต่ละเดือน

ทั้งนี้ กระบวนการจัดหาและกระจายวัคซีนนั้นยังเป็นไปตามแผนงานที่นายกรัฐมนตรีและ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) มอบหมายให้กระทรวงฯ นำไปปฏิบัติ ดังนั้นข่าวสารต่างๆ ขอให้รับจากกระทรวงฯ ซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายจัดหาและจัดการต่อไป

Related Post
แอพเป๋าตังค์

พ.ต.อ. บุญส่ง จันทรีศรี กล่าวถึงโครงการ GLO Official Sellers สร้างจุดจำหน่ายให้ประชาชนสามารถหาซื้อสลากได้ตามราคา 80 บาท

เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2564 ในเฟซบุ๊กของกระทรวงการต่างประเทศ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ญี่ปุ่นได้บริจาควัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าให้ไทยเป็นล็อตที่ 3

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มทำการทดสอบวัคซีนที่ผลิตโดยคนไทย “ChulaCov19” (จุ-ฬา-คอฟ-ไนน์-ทีน)​ เฟสแรกในมนุษย์

04/06/2021 WHO ประกาศชื่อหลักอย่างเป็นทางการของ ไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์

WHO ประกาศชื่อหลักอย่างเป็นทางการของ ไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์

WHO ประกาศชื่อหลักอย่างเป็นทางการของ ไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์

รู้ไว้ใช่ว่า….  องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศหลักการเรียกชื่อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ แบบใหม่ โดยใช้ตัวอักษรกรีก ในการระบุสายพันธุ์ ของไวรัสโควิดที่กลายพันธุ์ จากเดิมที่เรียกด้วยชื่อประเทศต่างๆ ที่พบไวรัสสายพันธุ์นั้นเป็นครั้งแรก เช่น อังกฤษ, แอฟริกาใต้ หรือ อินเดีย เป็นต้น

จากระบบการเรียกชื่อใหม่ของ WHO นี้ จะทำให้ไวรัสโควิดสายพันธ์ต่างๆ ถูกเรียกใหม่ดังนี้

  • สายพันธุ์ 1.1.7 พบเป็นครั้งแรกในอังกฤษ เรียกว่า “อัลฟา”
  • สายพันธุ์ 1.351 พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ เรียกว่า “เบตา”
  • สายพันธุ์P1 พบครั้งแรกในใน บราซิล เรียกว่า “แกมมา”
  • สายพันธุ์ 1.617.2 พบครั้งแรกในอินเดีย เรียกว่า “เดลตา”

WHO ระบุว่า ระบบการเรียกชื่อใหม่นี้ ช่วยขจัดการตีตราประเทศนั้นๆ ว่าเป็นต้นตอของไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ อีกด้วย ทั่วโลกทราบแล้ว เปลี่ยนชื่อเรียกกันนะ

Related Post
แอพเป๋าตังค์

พ.ต.อ. บุญส่ง จันทรีศรี กล่าวถึงโครงการ GLO Official Sellers สร้างจุดจำหน่ายให้ประชาชนสามารถหาซื้อสลากได้ตามราคา 80 บาท

ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก พร้อมเช็ค 77 จังหวัดดวงอาทิตย์ตั้งฉากวันไหน ? กรุงเทพมหานคร ครั้งแรกของปี 2565 จะตรงกับวันที่ 27 Read more

จับตา นายกฯ ถก ศบค.ชุดใหญ่ บ่ายนี้ จะเคาะขยายหรือผ่อนคลายล็อกดาวน์

04/06/2021 “ป้อง” บริจาคพลาสมาหลังหายป่วยโควิด ชวนชายเข้าเกณฑ์บริจาคช่วยผู้อื่นต่อ

“ป้อง” บริจาคพลาสมาหลังหายป่วยโควิด ชวนชายเข้าเกณฑ์บริจาคช่วยผู้อื่นต่อ

“ป้อง” บริจาคพลาสมาหลังหายป่วยโควิด ชวนชายเข้าเกณฑ์บริจาคช่วยผู้อื่นต่อ

หลังจากเข้ารับการรักษาโควิด-19 ในโรงพยาบาลจนหายดีและออกมากักตัวต่อที่บ้าน ช่วงปลายเดือน เม.ย. 2564 ที่ผ่านมา สำหรับพระเอกหนุ่ม “ป้อง ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์” ก่อนไปตรวจอีกครั้งในวันที่ 15 พ.ค. 2564 ผลออกมาเป็นลบคือไม่พบเชื้อ ล่าสุดพระเอกคนดังเดินทางไป ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เพื่อบริจาคพลาสมา สร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ป่วยโควิดต่อไป หลังผ่านการตรวจสอบว่าร่างกายแข็งแรงดีเข้าเกณฑ์ที่กำหนด

โดย “ป้อง” ได้โพสต์คลิปขณะกำลังบริจาคพลาสมา ลงในอินสตาแกรมพร้อมระบุว่า “หลังจากที่หายป่วยจาก Covid-19 และผ่านการตรวจสอบว่าร่างกายผ่านเกณฑ์ที่สามารถจะบริจาคพลาสมาเพื่อให้นำไปใช้ช่วยรักษาผู้ป่วย Covid-19 ที่มีอาการรุนแรงได้ ก็เลยจัดซะเลยครับ และขอบอกต่อนะครับ ผู้ชาย( เท่านั้น ) ทุกคนที่หายจาก Covid-19 แล้ว และสุขภาพผ่านเกณฑ์ ขอให้ช่วยกันออกไปบริจาคกันนะครับ

การนำพลาสมาจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายแล้ว นำไปใช้รักษาผู้ป่วยอาการรุนแรงได้ ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ซึ่งทำหน้าที่ในการรับบริจาคพลาสมาเพื่อรักษาผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ อยู่แล้ว จึงขอรับบริจาคพลาสมาจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายดีแล้ว เพื่อนำไปช่วยรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ต่อไป

เพราะจากผู้บริจาคที่หายป่วยจาก COVID-19 รอบแรก
ได้นำไปให้ผู้ป่วยอาการหนักหมดแล้ว ขณะนี้มีผู้ป่วย COVID-19 จำนวนมาก รอพลาสมาจากผู้บริจาค ซึ่งผู้บริจาคต้องเป็นผู้ป่วย COVID-19 ที่หายดีแล้ว ไม่มีอาการและเป็น “เพศชาย” เนื่องจาก มีภูมิต้านทานต่อเชื้อ COVID-19 มากกว่า และรักษาระดับอยู่ในร่างกายนานกว่าเพศหญิง มีเส้นเลือดตรงข้อพับแขนชัดเจนกว่าเพศหญิง ความเข้มโลหิต ผ่านเกณฑ์มากกว่าผู้หญิง ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนของผู้รับมากกว่าเพศหญิง #บริจาคพลาสมา #ให้เลือดฝ่าวิกฤติcovid19 #bloodchallenge”

อย่างไรก็ดี ชายๆ หนุ่มที่แข็งแรงทั้งหลายอย่าลืมออกไปบริจาคกันเยอะๆ นะ

Related Post
Margot Robbie

ถือว่า แฟนๆ หนังน่าจะถูกใจ ที่นักแสดงสาวมากความสามารถ และ อนาคตไกลสุดๆ อย่าง “Margot Robbie” มารับบท Read more

มิลลิ

เคลียร์ดราม่า “มิลลิ” ได้สิทธิ์ “สอบใหม่” แต่ทำไมถึงได้สิทธิ์เร็ว? ถ้าเทียบกับนักศึกษาทั่วไป

“แบมแบม-กันต์พิมุกต์ ภูวกุล” ระกาศเซอร์ไพรส์ผ่านคลิปในงานแถลงข่าว “MONO 29 PATTAYA COUNTDOWN 2023” ที่ผ่านมา  ว่าจะมีเสื้อออกมาจำหน่าย