site loader
site loader
30/06/2021 รพ.เอกชนเคาะราคา “โมเดอร์นา” อีกรอบ เข็มละ 1,700 บาท เริ่มจ่ายเงิน 1 ก.ค.นี้

รพ.เอกชนเคาะราคา “โมเดอร์นา” อีกรอบ เข็มละ 1,700 บาท เริ่มจ่ายเงิน 1 ก.ค.นี้

รพ.เอกชนเคาะราคา “โมเดอร์นา” อีกรอบ เข็มละ 1,700 บาท เริ่มจ่ายเงิน 1 ก.ค.นี้

นายแพทย์เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เปิดเผยว่า สมาคมโรงพยาบาลเอกชน องค์การเภสัชกรรม และบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายวัคซีนของ โมเดอร์นา ได้มีการเข้าร่วมประชุมเพื่อกำหนดราคาให้บริการวัคซีนทางเลือกโมเดอร์นาของโรงพยาบาลเอกชนในช่วงบ่ายวันนี้ (28 มิ.ย. 64) โดยที่กำหนดอัตราให้บริการฉีดวัคซีนโมเดอร์นา 2 เข็ม อยู่ที่ 3,400 บาท หรือ 1,700 บาท/เข็ม ในอัตราเดียวกันทุกโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการ และเป็นราคาสุทธิที่รวมค่าวัคซีน ค่าบริการ และค่าประกันวัคซีนทั้งหมดแล้ว

ในส่วนของการเรียกเก็บเงินค่าบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นาจากลูกค้าที่ลงชื่อจองเข้ามากับทางโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ นั้นทางโรงพยาบาลเอกชนจะเริ่มเรียกเก็บเงินกับลูกค้าที่จองไว้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 64 เป็นต้นไป เพื่อทำให้ทราบจำนวนที่แน่นอนในการสั่งจองวัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นากับทางองค์การเภสัชกรรม ซึ่งทางโรงพยาบาลเอกชนที่จะสั่งซื้อวัคซีนโมเดอร์นามาให้บริการจะต้องส่งจำนวนวัคซีนที่จะสั่งซื้อและชำระเงินค่าวัคซีนเต็มจำนวนให้กับทางองค์การเภสัชกรรมภายในสิ้นเดือน ก.ค.64

ขณะที่การส่งมอบวัคซีนโมเดอร์นายังคงเป็นไปตามกำหนดเดิมในช่วงต้นไตรมาส 4/64 หรือในช่วงเดือน ต.ค.64 ซึ่งในสัปดาห์หน้าองค์การเภสัชกรรม และบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด จะมีการเซ็นสัญญาลงนามซื้อขายวัคซีนโมเดอร์นาอย่างเป็นทางการ

Related Post

โครงการ "ต้องรอด" โดยกลุ่ม Up for Thai อาสาสมัครที่ทำงานช่วยเหลือประชาชนในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์

อ.นิธิ แนะนำ วิธีทานยา “ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์” จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมช่องทางติดต่อรับยา

 นายกรัฐมนตรี กำชับให้กระจายวัคซีนไฟเซอร์ ที่ได้รับจากสหรัฐ 1.54 ล้านโดส ตามแผนที่กำหนด ที่เน้นฉีดแก่บุคลากรแพทย์ด่านหน้า

18/06/2021 แอสตร้าเซนเนก้า ผลทดสอบยาต้านล้มเหลว! ได้ผลแค่ 33%

แอสตร้าเซนเนก้า ผลทดสอบยาต้านล้มเหลว! ได้ผลแค่ 33%

แอสตร้าเซนเนก้า ผลทดสอบยาต้านล้มเหลว! ได้ผลแค่ 33%

แอสตร้าเซนเนก้า

แอสตร้าเซนเนก้า พีแอลซี บริษัทยาจากสหราชอาณาจักร เผยการศึกษาคอกเทลแอนติบอดีสำหรับรักษาโรคโควิด-19 ของบริษัทว่ามีประสิทธิภาพแค่ 33% ในการป้องกันอาการโรคโควิด-19 สำหรับคนที่เคยติดไวรัส ซึ่งทำการทดลองกับอาสาสมัครวัยผู้ใหญ่ 1,121 คน ในสหราชอาณาจักรและสหรัฐ ที่เคยติดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในสถานที่ต่างๆ

ผลที่ออกมากลับไม่เป็นเรื่องดีต่อแอสตร้าเซนเนก้านัก เพราะหวังให้ยานี้เพิ่มบทบาทของบริษัทในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 หลังจากประสบความสำเร็จระดับหนึ่งในการพัฒนาวัคซีนร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

ขณะเดียวกัน บริษัทยาอื่นๆ อาทิ แกล็กโซสมิทไคล์น พีแอลซี ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งในการรักษาที่คล้ายกันในการทดสอบทางคลินิก และได้รับอนุมัติให้ใช้กับกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ที่รับวัคซีนไม่ได้แล้ว

ถึงอย่างนั้น คอกเทลแอนติบอดีของแอสตร้าเซนเนก้านี้ได้รับความสนใจก่อนพิสูจน์ผลลัพธ์ที่ออกมาเสียด้วยซ้ำ โดยจะเห็นว่าสหรัฐสั่งยานี้ไปถึง 700,000 โดสให้ส่งมอบในปี 2564

อย่างไรก็ดีคงต้องติดตามผลประสิทธิภาพอย่างใกล้ชิดต่อไป และหวัง่วาจะมีข่าวดีเพื่อเป็นทางออกของประชากรโลกต่อไป จากสถานการณ์โควิด-19

ที่มา https://www.sanook.com/news/8397466/

Related Post
ยาดม

ความคืบหน้ากรณีหญิงสาวคนหนึ่งโพสต์คลิปลงในแอปพลิเคชัน TikTok  เรื่อง ประกาศขายยาดม 150 บาท ก่อนที่คลิปนี้จะถูกแชร์อย่างรวดเร็ว

ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 โดยให้นั่งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารที่ได้มาตรฐาน SHA

คนละครึ่ง

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท เปิดเผยว่า จะไม่มีการเลื่อนมาตรการคนละครึ่งเฟส 3 ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.2564

15/06/2021 อีกความหวังของคนไทย “ChulaCov19” วัคซีนสายพันธุ์ไทย โดยแพทย์จุฬาฯ เริ่มการทดลองแล้ว

อีกความหวังของคนไทย “ChulaCov19” วัคซีนสายพันธุ์ไทย โดยแพทย์จุฬาฯ เริ่มการทดลองแล้ว

อีกความหวังของคนไทย “ChulaCov19” วัคซีนสายพันธุ์ไทย โดยแพทย์จุฬาฯ เริ่มการทดลองแล้ว

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มทำการทดสอบวัคซีนที่ผลิตโดยคนไทย ChulaCov19” (จุ-ฬา-คอฟ-ไนน์-ทีน)​ เฟสแรกในมนุษย์ โดยทดลองฉีดให้อาสาสมัครจำนวน 4 ราย เบื้องต้นทั้งหมดไม่พบผลข้างเคียง วัคซีน ChulaCov19” ถูกคิดค้นออกแบบและพัฒนาโดยคนไทย ด้วยความร่วมมือและสนับสนุนจาก นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกผู้บุกเบิกเทคโนโลยีนี้คือ Professor Drew Weissman, มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเทคโนโลยี mRNA เช่นเดียวกับวัคซีน Pfizer และ Moderna ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ทั่วโลกที่มีการรับรองในการฉีดกว่า 600 ล้านโดส ทั่วโลก

mRNAจะสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋วจากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา โดยไม่มีการใช้ตัวเชื้อแต่อย่างใด เมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วนดังกล่าว จะทำการสร้างโปรตีนและกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อ โควิด-19 เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือเกิดอาการหรือเกิดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตได้

การพัฒนาวัคซีน “ChulaCov19” ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยนี้ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เอกชน และประชาชน สำคัญผลการทดลองในหนูทดลอง พบว่าการฉีดแม้เป็นเพียงโดสต่ำๆ แต่สร้างภูมิคุ้มกันได้ “สูงมากจนน่าตื่นเต้น” และเมื่อนำไปทดสอบในลิงก็พบว่าสามารถสร้างภูมิได้สูงมากเช่นกัน นอกจากนั้นยังได้ทำการทดลองในหนูพันธุ์พิเศษ โดยใส่เชื้อเข้าไปในระบบทางเดินหายใจของหนูที่ได้รับการฉีดวัคซีน พบว่าสามารถป้องกันไม่ให้หนูป่วยและเชื้อเข้ากระแสเลือดได้ 100% นอกจากนั้นยังพบว่าเชื้อที่ใส่เข้าไปในจมูกและปอดลดลงกว่า 10 ล้านเท่า

สำหรับการเก็บรักษาพบว่าวัคซีน “ChulaCov19” สามารถอยู่ในอุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส) นานถึง 3 เดือน และเก็บในอุณภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) นาน 2 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าจัดเก็บรักษาง่ายกว่าวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ยี่ห้ออื่น

หลังการประกาศขอสมัครอาสามัครทดลองวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับใบสมัครจากคนไทยกว่า 10,000 ราย

ศ.นพ.เกียรติ อธิบายกระบวนการทดสอบวัคซีนเพิ่มเติมว่า หากผ่านการทดสอบระยะแรกปลายเดือน ก.ค. ระยะที่ 2 จะเริ่มดำเนินการทดสอบในอาสาสมัครอีก 150 คนได้ในช่วงเดือน ส.ค.  พร้อมทั้งเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ วัคซ๊นในกระบวนการใกล้เคียงกันจากผลเลือดของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน ที่ไดรับวัคซีนจากเทคโนโลยี mRNA อย่าง ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา

ส่วนการทดสอบในระยะที่ 3 นั้น อาจไม่จำเป็นต้องทดสอบในอาสาสมัคร 20,000 รายในประเทศที่กำลังเกิดการระบาด ตามเกณฑ์ของการทดลองวัคซีนชนิดใหม่ เนื่องจากเมื่อมีวัคซีนอื่นที่ผลิตชนิดเดียวกันแล้ว มีแนวโน้มว่าภายในสิ้นปีนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (NIH) จะกำหนดหลักเกณฑ์ได้ว่า “วัคซีนที่มีประสิทธิภาพต้องกระตุ้นภูมิเท่าไหร่” ก็จะช่วยลดขั้นตอนการทดสอบทางคลินิกในระยะที่ 3 ได้

หากได้รับการยกเว้นการทดสอบระยะที่ 3 และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด วัคซีน “ChulaCov19” อาจได้รับอนุมัติให้ผลิตเพื่อให้ในคนจำนวนมากได้ประมาณเดือน มี.ค. หรือ เม.ย. 2565

ในล็อตแรกที่ทำการทดสอบนี้ผลิตจากบริษัทในสหรัฐอเมริกา แต่หลังจากนี้จะผลิตในประเทศไทยโดยบริษัท BioNet-Asia ซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแล้ว ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตให้ได้อย่างน้อย 50 ล้านโดสต่อปีหลังผ่านการทดลองและได้รับการอนุมัติ

ท่ามกลางความกังวลเรื่องประสิทธิภาพวัคซีนที่มีในประเทศไทย และทิศทางเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ในอนาคต

ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ เตรียมความพร้อมพัฒนาทดลองวัคซีนรุ่นที่ 2 เพื่อรองรับเชื้อดื้อยาหรือเชื้อกลายพันธุ์ และจะเร่งทดลองกับสัตว์ควบคู่กันไป และคาดว่าจะทดสอบในอาสาสมัครภายในไตรมาสสี่ของปีนี้

“ความคาดหวังแน่นอนเราก็อยากเห็นว่าถ้าประสบความสำเร็จ คือรู้ขนาดที่เหมาะสม โรงงานไทยผลิตได้จริง ฝีมือดีเท่ากับที่เรานำเข้า ประสิทธิผลประสิทธิภาพได้ เราก็อยากให้วัคซีนนี้สามารถที่จะเป็นที่พึ่งของคนไทยได้ในปีหน้า” ศ.นพ.เกียรติ  กล่าวทิ้งท้าย

 

ที่มา : ข้อมูลโดย: พริสม์ จิตเป็นธม workpointTODAY และ ทีมประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Related Post
ซิโนแวค

วานนี้ (1 มิ.ย.) องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ให้การรับรองวัคซีน "โคโรนาแวค (CoronaVac)" วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา Read more

Japan

แหล่งข่าวหลายรายในรัฐบาลญี่ปุ่น เผยว่า ญี่ปุ่นมีแผนการปิดประเทศอย่างเข้มงวดอีกครั้ง ไม่ให้พลเมืองต่างประเทศเดินทางเข้ามา

ศิริราช

ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ กล่าวเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง คำแนะนำสำหรับคนที่ต้องการฉีดวัคซีน MODERNA เป็นเข็มกระตุ้นบิดเบือนจากความเป็นจริง

15/06/2021 เผยยอดจอง “ซิโนฟาร์ม” กว่า 7,000 องค์กร ยอดรวมกว่า 3 ล้านคน!

เผยยอดจอง “ซิโนฟาร์ม” กว่า 7,000 องค์กร ยอดรวมกว่า 3 ล้านคน!

เผยยอดจอง “ซิโนฟาร์ม” กว่า 7,000 องค์กร ยอดรวมกว่า 3 ล้านคน!

เมื่อเย็นวานนี้ วันที่ 14 มิ.ย. 64 เวลาประมาณ 18.00น. เพจ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ Chulabhorn Royal Academy แจ้งรายงานผลสรุปจำนวนองค์กรที่ยื่นความประสงค์ขอรับวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ประจำวันที่ 14 มิ.ย. 64 ตั้งแต่เปิดระบบยื่นความประสงค์ผ่านช่องทางออนไลน์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เมื่อเวลา 08.00 น.จนถึง 16.00 น. โดยระบุว่ามีองค์กรยื่นความประสงค์ จำนวน 6,938 องค์กร จำนวนบุคคลที่องค์กรยื่นขอรับการจัดสรร 3,182,006 คน

ทั้งนี้คณะกรรมการอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลและเอกสาร โดยองค์กรที่ยื่นความประสงค์สามารถติดตามประกาศการจัดสรรวัคซีนตัวเลือกทางเว็บไซต์และสื่อต่างๆ ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ต่อไป

Related Post
วิจัยโควิด

เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ รายงานโดยอ้างอิงงานวิจัยชิ้นใหม่ที่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเมื่อราว 20,000 ปีก่อน

 “หมอทหาร” คิดค้น ชุด PPE ปรับอุณหภูมิ นวัตกรรม ใหม่ ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ ที่ร้อนเหงื่อหยดติ๋ง

วัคซีนไฟเซอร์

แฟนเพจอย่างเป็นทางการของสถานทูตสหรัฐ ประจำกรุงเทพมหานคร โพสต์ชุดรูปภาพ ชี้แจงการคำนวณวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 1,503,450 โดส