site loader
site loader
25/10/2021 สธ.ย้ำฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม สู้เดลตาได้ ลุ้นฉีดเข็ม 3 ให้กลุ่มซิโนฟาร์มครบ 2 โดส ตั้งแต่ พ.ย.นี้

สธ.ย้ำฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม สู้เดลตาได้ ลุ้นฉีดเข็ม 3 ให้กลุ่มซิโนฟาร์มครบ 2 โดส ตั้งแต่ พ.ย.นี้

สธ.ย้ำฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม สู้เดลตาได้ ลุ้นฉีดเข็ม 3 ให้กลุ่มซิโนฟาร์มครบ 2 โดส ตั้งแต่ พ.ย.นี้

21 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมาที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงว่า สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แนวโน้มผู้ป่วยหายมากกว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้มีผู้ป่วยหาย 10,075 คน ผู้ป่วยที่มีอาการหนักก็มีจำนวนลดลงเหลือ 2,687 คน สอดคล้องกับผู้ที่มีอาการหนักมากหรือใส่ท่อช่วยหายใจขณะนี้ 603 คน ผู้เสียชีวิต 73 คน ส่วนผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 9,727 คน

ทั้งนี้ การระบาดของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ต้องระวังพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีการตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ศบค.ส่วนหน้าภาคใต้ นพ.โอภาส กล่าวต่อไปว่า การฉีดวัคซีนให้กับเด็กนักเรียนได้ดำเนินการไปตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม ขณะนี้ฉีดวัคซีนให้กับนักเรียนแล้ว 2,000,000 โดส สำหรับความกังวลในเรื่องของความปลอดภัยและประสิทธิภาพนั้น ในการประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพิจารณาแล้วว่า วัคซีนไฟเซอร์ที่นำมาฉีดให้เด็กนักเรียนอายุ 12-18 ปี ต้องฉีด 2 เข็มจึงจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่เพียงพอต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา

ส่วนความกังวลเรื่องการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ผู้เชี่ยวชาญได้ประชุมหารือกันพบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลข้างเคียง แต่อาการที่เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างน้อย หากเทียบกับเด็กที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาแล้วเกิดการอักเสบทั่วร่างกาย (MIS-C) รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการจากโรคจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่าการฉีดวัคซีน อีกทั้งผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนมักจะหายเองได้ จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 2 ในเด็กผู้ชายต่อไป แต่ให้เป็นไปตามความสมัครใจ ขึ้นกับความประสงค์ของผู้ปกครองและนักเรียน รวมทั้งแนะนำให้งดออกกำลังกายหนักภายหลังได้รับวัคซีนเป็นเวลา 7 วัน หากมีภาวะใจสั่น หายใจไม่อิ่ม หอบเหนื่อย ให้รีบพบแพทย์

ส่วนแนวโน้มการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้กับผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มครบ 2 เข็ม ว่า กำหนดการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นคาดว่าจะเป็นช่วงปลายพฤศจิกายนและต้นเดือนธันวาคม ทางคณะอนุกรรมการฯ ขอให้ทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ส่งเอกสารหลักฐานที่มีการศึกษาพบว่าจำเป็นต้องฉีดเข็มกระตุ้นเนื่องจากภูมิคุ้มกันลดลง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบก่อนจะพิจารณาและประกาศฉีดวัคซีนต่อไป

Related Post
ไทยร่วมใจ

ทางแฟนเพจ ไทยร่วมใจ ได้แจ้งเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อเว็บปลอม โดยระบุว่า ท่านใดเจอเว็บปลอม ช่วยกันแจ้งมาหน่อยนะครับ

NASA

ตื่นเต้นสุดๆ เมื่อ NASA ยกระดับความล้ำขึ้นไปอีก ด้วยการส่งแพทย์แบบโฮโลแกรม (Hologram)

พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกลุ่มบุคคลที่กล่าวอ้างว่ามีพยานหลักฐานใหม่คดีของ “แตงโม”

09/07/2021 มาอีกแล้ว! จับตาโควิดสายพันธุ์ “แลมบ์ดา” ระบาดแล้วเกือบ 30 ประเทศในอเมริกาใต้

มาอีกแล้ว! จับตาโควิดสายพันธุ์ “แลมบ์ดา” ระบาดแล้วเกือบ 30 ประเทศในอเมริกาใต้

มาอีกแล้ว! จับตาโควิดสายพันธุ์ “แลมบ์ดา” ระบาดแล้วเกือบ 30 ประเทศในอเมริกาใต้

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศการตรวจพบโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ “แลมบ์ดา” (Lambda) ใน 29 ประเทศ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์ดังกล่าว

รายงานประจำสัปดาห์ขององค์การฯ ระบุว่าโรคโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา ซึ่งพบครั้งแรกในเปรู จัดเป็นสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variant of Interest) เนื่องจากความชุกที่เพิ่มขึ้นในทวีปอเมริกาใต้

เปรูตรวจพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา สูงถึงร้อยละ 81 นับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะชิลีตรวจพบสายพันธุ์ดังกล่าวร้อยละ 32 ในช่วง 60 วันที่ผ่านมา เป็นรองเพียงสายพันธุ์แกมมา (Gamma) ที่พบครั้งแรกในบราซิล ส่วน ประเทศอื่นๆ อาทิ อาร์เจนตินาและเอกวาดอร์ รายงานความชุกที่เพิ่มขึ้นของสายพันธุ์ใหม่นี้เช่นกัน

องค์การฯ รายงานว่าสายพันธุ์แลมบ์ดามีการกลายพันธุ์ที่อาจเพิ่มความสามารถแพร่เชื้อ หรือทำให้เชื้อไวรัสฯ ต่อต้านแอนติบอดีมากขึ้น ทว่าหลักฐานที่มีอยู่ในขณะนี้ยังไม่เพียงพอและจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ ซึ่งแตกต่างจากสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern) เป็นสายพันธุ์ที่ต้องได้รับการเฝ้าระวังจากองค์การฯ แต่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อสุขภาพของประชาชน

ตัวอย่างล่าสุดคือสายพันธุ์เดลตา (Delta) ที่พบครั้งแรกในอินเดีย ซึ่งถูกจัดเป็น “สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ” จนถึงวันที่ 11 พ.ค. ก่อนองค์การฯ จะเปลี่ยนเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล เนื่องจากแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

Related Post

เฌอปราง ในมุมใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน โดยมีแฟนๆ มาร่วมในงาน Cherprang’s Photobook Fansign Event กันอย่างล้นหลาม เมื่อวันอาทิตย์ที่ Read more

ภายหลังการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 มีรายงานว่าทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เสนอรายงานผลคะแนนเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณาในวันที่

พิมฐา ฐานิดา

คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อของเชียงใหม่ ได้ประชุมกันแล้วว่า.. พิมฐา มาจาก กทม. แต่ไม่ได้มีการกักตัวแต่ ตะลอนเที่ยว ถือว่ามีความผิดชัดเจน