site loader
site loader
15/06/2021 อีกความหวังของคนไทย “ChulaCov19” วัคซีนสายพันธุ์ไทย โดยแพทย์จุฬาฯ เริ่มการทดลองแล้ว

อีกความหวังของคนไทย “ChulaCov19” วัคซีนสายพันธุ์ไทย โดยแพทย์จุฬาฯ เริ่มการทดลองแล้ว

อีกความหวังของคนไทย “ChulaCov19” วัคซีนสายพันธุ์ไทย โดยแพทย์จุฬาฯ เริ่มการทดลองแล้ว

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มทำการทดสอบวัคซีนที่ผลิตโดยคนไทย ChulaCov19” (จุ-ฬา-คอฟ-ไนน์-ทีน)​ เฟสแรกในมนุษย์ โดยทดลองฉีดให้อาสาสมัครจำนวน 4 ราย เบื้องต้นทั้งหมดไม่พบผลข้างเคียง วัคซีน ChulaCov19” ถูกคิดค้นออกแบบและพัฒนาโดยคนไทย ด้วยความร่วมมือและสนับสนุนจาก นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกผู้บุกเบิกเทคโนโลยีนี้คือ Professor Drew Weissman, มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเทคโนโลยี mRNA เช่นเดียวกับวัคซีน Pfizer และ Moderna ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ทั่วโลกที่มีการรับรองในการฉีดกว่า 600 ล้านโดส ทั่วโลก

mRNAจะสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋วจากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา โดยไม่มีการใช้ตัวเชื้อแต่อย่างใด เมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วนดังกล่าว จะทำการสร้างโปรตีนและกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อ โควิด-19 เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือเกิดอาการหรือเกิดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตได้

การพัฒนาวัคซีน “ChulaCov19” ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยนี้ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เอกชน และประชาชน สำคัญผลการทดลองในหนูทดลอง พบว่าการฉีดแม้เป็นเพียงโดสต่ำๆ แต่สร้างภูมิคุ้มกันได้ “สูงมากจนน่าตื่นเต้น” และเมื่อนำไปทดสอบในลิงก็พบว่าสามารถสร้างภูมิได้สูงมากเช่นกัน นอกจากนั้นยังได้ทำการทดลองในหนูพันธุ์พิเศษ โดยใส่เชื้อเข้าไปในระบบทางเดินหายใจของหนูที่ได้รับการฉีดวัคซีน พบว่าสามารถป้องกันไม่ให้หนูป่วยและเชื้อเข้ากระแสเลือดได้ 100% นอกจากนั้นยังพบว่าเชื้อที่ใส่เข้าไปในจมูกและปอดลดลงกว่า 10 ล้านเท่า

สำหรับการเก็บรักษาพบว่าวัคซีน “ChulaCov19” สามารถอยู่ในอุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส) นานถึง 3 เดือน และเก็บในอุณภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) นาน 2 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าจัดเก็บรักษาง่ายกว่าวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ยี่ห้ออื่น

หลังการประกาศขอสมัครอาสามัครทดลองวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับใบสมัครจากคนไทยกว่า 10,000 ราย

ศ.นพ.เกียรติ อธิบายกระบวนการทดสอบวัคซีนเพิ่มเติมว่า หากผ่านการทดสอบระยะแรกปลายเดือน ก.ค. ระยะที่ 2 จะเริ่มดำเนินการทดสอบในอาสาสมัครอีก 150 คนได้ในช่วงเดือน ส.ค.  พร้อมทั้งเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ วัคซ๊นในกระบวนการใกล้เคียงกันจากผลเลือดของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน ที่ไดรับวัคซีนจากเทคโนโลยี mRNA อย่าง ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา

ส่วนการทดสอบในระยะที่ 3 นั้น อาจไม่จำเป็นต้องทดสอบในอาสาสมัคร 20,000 รายในประเทศที่กำลังเกิดการระบาด ตามเกณฑ์ของการทดลองวัคซีนชนิดใหม่ เนื่องจากเมื่อมีวัคซีนอื่นที่ผลิตชนิดเดียวกันแล้ว มีแนวโน้มว่าภายในสิ้นปีนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (NIH) จะกำหนดหลักเกณฑ์ได้ว่า “วัคซีนที่มีประสิทธิภาพต้องกระตุ้นภูมิเท่าไหร่” ก็จะช่วยลดขั้นตอนการทดสอบทางคลินิกในระยะที่ 3 ได้

หากได้รับการยกเว้นการทดสอบระยะที่ 3 และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด วัคซีน “ChulaCov19” อาจได้รับอนุมัติให้ผลิตเพื่อให้ในคนจำนวนมากได้ประมาณเดือน มี.ค. หรือ เม.ย. 2565

ในล็อตแรกที่ทำการทดสอบนี้ผลิตจากบริษัทในสหรัฐอเมริกา แต่หลังจากนี้จะผลิตในประเทศไทยโดยบริษัท BioNet-Asia ซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแล้ว ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตให้ได้อย่างน้อย 50 ล้านโดสต่อปีหลังผ่านการทดลองและได้รับการอนุมัติ

ท่ามกลางความกังวลเรื่องประสิทธิภาพวัคซีนที่มีในประเทศไทย และทิศทางเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ในอนาคต

ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ เตรียมความพร้อมพัฒนาทดลองวัคซีนรุ่นที่ 2 เพื่อรองรับเชื้อดื้อยาหรือเชื้อกลายพันธุ์ และจะเร่งทดลองกับสัตว์ควบคู่กันไป และคาดว่าจะทดสอบในอาสาสมัครภายในไตรมาสสี่ของปีนี้

“ความคาดหวังแน่นอนเราก็อยากเห็นว่าถ้าประสบความสำเร็จ คือรู้ขนาดที่เหมาะสม โรงงานไทยผลิตได้จริง ฝีมือดีเท่ากับที่เรานำเข้า ประสิทธิผลประสิทธิภาพได้ เราก็อยากให้วัคซีนนี้สามารถที่จะเป็นที่พึ่งของคนไทยได้ในปีหน้า” ศ.นพ.เกียรติ  กล่าวทิ้งท้าย

 

ที่มา : ข้อมูลโดย: พริสม์ จิตเป็นธม workpointTODAY และ ทีมประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Related Post
วิจัยโควิด

เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ รายงานโดยอ้างอิงงานวิจัยชิ้นใหม่ที่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเมื่อราว 20,000 ปีก่อน

ตอนนี้ยอดผู้ป่วยที่ติดเชื้อสูงมากกว่า 15,000 คน ทำให้แนวคิดเรื่องของ “Home Isolation” จึงเริ่มเป็นสิ่งที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมตัวรับมือ

ซิโนแวค

วานนี้ (1 มิ.ย.) องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ให้การรับรองวัคซีน "โคโรนาแวค (CoronaVac)" วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา Read more

10/06/2021 เคาะแล้ว ราคาวัคซีนทางเลือก “โมเดอร์นา” 2 เข็ม 3,800 บาท ราคาเดียวทั่วประเทศ

เคาะแล้ว ราคาวัคซีนทางเลือก “โมเดอร์นา” 2 เข็ม 3,800 บาท ราคาเดียวทั่วประเทศ

เคาะแล้ว ราคาวัคซีนทางเลือก “โมเดอร์นา” 2 เข็ม 3,800 บาท ราคาเดียวทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา สมาคมโรงพยาบาลเอกชน ในการประชุมมีมติกำหนดราคากลางค่าบริการวัคซีนทางเลือก “โมเดอร์นา” เรียบร้อยที่ ราคาเข็มละ 1,900 บาท หรือครบ 2 โดส จำนวน 2 เข็ม ราคา 3,800 บาท ซึ่งราคานี้รวมค่าบริการ ค่าประกัน และค่าสังเกตอาการที่ต้องใช้เวลา 40 นาที โดยมีแพทย์ติดตามและมีการวัดความดันระหว่างรอสังเกตอาการ อย่างไรก็ตามราคาวัคซีนของโรงพยาบาลเอกชนแต่ละแห่งจะแตกต่างกันที่ค่าแพทย์ ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลจะไม่เท่ากัน

สำหรับวัคซีน Moderna คาดว่าน่าจะเข้ามาช่วงเดือนตุลาคมนี้ จำนวน 5 ล้านโดส แต่แบ่งให้สภากาชาด จำนวน 1 ล้านโดส เหลือ 4 ล้านโดส ต้องแบ่งให้โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ส่วนหนึ่ง จะเหลือประมาณ 3 ล้านกว่าโดส กระจายให้ 390 โรงพยาบาลเอกชนในเครือสมาคมโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศไทย

ที่มา : https://thestandard.co/price-moderna-vaccine-is-1900-baht-per-syringe/

Related Post

26 สิงหาคม ของทุกปี คือวันสุนัขโลก วันนี้ Flex 104.5 เลยจะพาทุกคนเข้าสู่โลกความน่ารักของน้องมีใจ น้องสุนัขของ FJ Read more

IBerry

โน้ต อุดม แต้พานิช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ เดี่ยว ประกาศปิดร้าน iberry garden เชียงใหม่ ร้านไอศกรีมที่เปิดมานานกว่า Read more

APPLE

บัญชีผู้ใช้นามว่า Kang บนเว็บไซต์เว่ยป๋อ (Weibo) เปิดเผยว่า ตัวเขาและมือดีที่มีข้อมูลข่าวสารในเชิงลับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล (Apple) 

21/05/2021 ใครฉีด วัคซีน 5 ยี่ห้อนี้ เตรียมเฮ! สหภาพยุโรป ต้อนรับเข้าประเทศแล้วนะ

ใครฉีด วัคซีน 5 ยี่ห้อนี้ เตรียมเฮ! สหภาพยุโรป ต้อนรับเข้าประเทศแล้วนะ

ใครฉีด วัคซีน 5 ยี่ห้อนี้ เตรียมเฮ! สหภาพยุโรป ต้อนรับเข้าประเทศแล้วนะ

Vaccine Covid 19

NEW YORK TIME เผยข้อมูล สหภาพยุโรป (อียู) มีมติเห็นชอบเมื่อวันพุธ (19 พ.ค.) ให้เปิดพรมแดนแก่นักเดินทางจากภายนอกอีกครั้ง ซึ่งนักเดินทางเหล่านี้จะต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่อียูรับรอง ครบถ้วน หรือนักเดินทางจากกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงโรคโควิด-19 ต่ำ

การผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการเดินทางเข้ามานี้ จะเปิดรับนักเดินทางที่ได้รับวัคซีนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งวัคซีนที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก คือ แอสตร้าเซนเนก้า, จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน, โมเดอร์นา, ไฟเซอร์-ไบออนเทค และ ซิโนฟาร์ม

ส่วนรายชื่อประเทศที่เสี่ยงต่ำโรคโควิด-19 ต่ำและให้เข้าประเทศได้แล้ว คาดว่าจะมีการเปิดเผยได้เร็วที่สุดในวันศุกร์ (21 พ.ค.)

ที่ผ่านมา ประเทศสมาชิกอียูชาติอื่น ที่เศรษฐกิจพึ่งพาการท่องเที่ยวน้อยกว่า โดยเฉพาะกลุ่มยุโรปเหนือ เห็นว่าอียูควรอนุญาตเฉพาะนักเดินทางที่มีความจำเป็นจริงๆ แต่ต่อมาก็ยอมลดเงื่อนไขเหล่านี้ลง หลังจากทั่วโลกมีความคืบหน้าเรื่องการฉีดวัคซีนมากขึ้น ขณะเดียวกันอียูก็ยอมให้ยกเลิกการผ่อนคลายนี้ได้ภายหลัง ถ้าหากพบว่าการผ่อนคลายนี้ทำให้เกิดการระบาดเพิ่มขึ้น

Related Post

ฮือฮา ตัวการ์ตูนดัง โผล่ ฝาฝนังวัด เจ้าอาวาสชี้แจ้ง ทุกตัวละครมีความหมาย วานนี้ (15 มิ.ย.) เมื่อเวลา 16.00 Read more

ไฟเซอร์

FDA ประกาศเพิ่มคำเตือนลงในฉลากและใบแสดงข้อเท็จจริงการใช้วัคซีนของไฟเซอร์ และโมเดอร์นา ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด mRNA

 “หมอทหาร” คิดค้น ชุด PPE ปรับอุณหภูมิ นวัตกรรม ใหม่ ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ ที่ร้อนเหงื่อหยดติ๋ง