site loader
site loader
04/06/2021 WHO รับรองวัคซีนโควิด “ซิโนแวค” แล้ว ใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน ตัวที่ 2 ของจีนต่อจาก “ซิโนฟาร์ม”

WHO รับรองวัคซีนโควิด “ซิโนแวค” แล้ว ใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน ตัวที่ 2 ของจีนต่อจาก “ซิโนฟาร์ม”

WHO รับรองวัคซีนโควิด “ซิโนแวค” แล้ว ใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน ตัวที่ 2 ของจีนต่อจาก “ซิโนฟาร์ม”

หลังจากที่รอคอยผลกันมานาน วานนี้ (1 มิ.ย.) องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ให้การรับรองวัคซีน “โคโรนาแวค (CoronaVac)” วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่พัฒนาโดยซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) บริษัทเภสัชภัณฑ์สัญชาติจีน สำหรับการใช้งานในกรณีฉุกเฉินแล้ว ถือเป็นวัคซีนตัวที่สองของจีนที่ได้รับการอนุมัติต่อจากวัคซีนซิโนฟาร์ม และเป็นการเปิดทางให้วัคซีนซิโนแวคสามารถใช้ได้ในกลุ่มประเทศยากจน

อย่างไรก็ตาม การอนุมัติให้ใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก ถือเป็นการส่งสัญญาณถึงหน่วยงานต่างๆ ในระดับชาติที่กำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน นอกจากนั้น ยังเป็นการอนุมัติให้เกิดการผนวกวัคซีนซิโนแวคเข้าสู่โครงการโคแวกซ์ (COVAX) ซึ่งเป็นโครงการจัดหาวัคซีนให้แก่กลุ่มประเทศยากจน ซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาใหญ่จากการขาดแคลนวัคซีน

ในขณะที่คณะที่ปรึกษายุทธศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกัน (SAGE) ออกแถลงการณ์ระบุว่า แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนซิโนแวคแก่ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยเว้นระยะ 2-4 สัปดาห์ก่อนการรับวัคซีนโดสที่สอง ทั้งนี้ ไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุด เนื่องจากข้อมูลวิจัยบ่งชี้ว่า วัคซีนซิโนแวคมีแนวโน้มที่จะมีผลเชิงป้องกันในผู้สูงอายุ

Related Post
เจ้าชาย วิลเลี่ยม

เจ้าชายวิลเลียมทรงทวีตข้อความว่า พระองค์ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้วเมื่อต้นสัปดาห์นี้

วัคซีน AstraZeneca

เพจ “ขอหมอบ่นหน่อยเหอะ-AggressineDoctor” มีการเผยแพร่แชทของบุคลากรการแพทย์ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ใน จ.สงขลา

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตอบคำถามสำหรับกรณีที่ผู้ประกอบการสถานบันเทิง ผับ บาร์ เรียกร้องให้เปิดดำเนินกิจการก่อนวันที่ 16 มกราคม 2565

31/05/2021 อัปเดตสถานการณ์ “ซิโนฟาร์ม” วัคซีนตัวที่ 5 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดการนำเข้า

อัปเดตสถานการณ์ “ซิโนฟาร์ม” วัคซีนตัวที่ 5 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดการนำเข้า

อัปเดตสถานการณ์ “ซิโนฟาร์ม” วัคซีนตัวที่ 5 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดการนำเข้า

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) เป็นที่เรียบร้อย ในวันเดียวกันกับที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ตั้งโต๊ะแถลง “แนวทางการจัดสรรและนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ทางเลือก ซิโนฟาร์ม” ซึ่งจะนำเข้ามาในไทย 1ล้านโดส ในเดือน มิ.ย.

โดย ซิโนฟาร์ม เป็นวัคซีนโควิด-19 รายการที่ 5 ที่ได้รับอนุมัติจาก อย. โดยมีบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด เป็นผู้ยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนและจะเป็นผู้นำเข้าอย่างครบถ้วน ทั้งเอกสารขออนุญาต และขออนุมัติใช้ และถือเป็นวัคซีนสัญชาติจีนยี่ห้อที่ 2 ที่จะนำมาฉีดให้คนไทย ซึ่ง วัคซีนซิโนฟาร์ม ได้รับรองจาก องค์กรอนามัยโลก (WHO) ขอขึ้นทะเบียนเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินในการระบาดโรคโควิด-19  นอกเหนือจากวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) ที่กระจายอยู่ในปัจจุบัน

เบื้องหลังการนำเข้า “วัคซีนทางเลือก” ตัวแรกของไทย ได้รับการเฉลยโดย ศ.นพ. นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ว่า ทางราชวิทยาลัยได้ติดต่อบริษัทซิโนฟาร์มเพื่อขอนำเข้าวัคซีน แต่มอบหมายให้บริษัทไบโอจีนีเทคช่วยดำเนินการยื่นเอกสารขออนุญาตจาก อย. เนื่องจากบริษัทดังกล่าวมีใบอนุญาตนำเข้ายาและเวชภัณฑ์ และเคยเป็นผู้นำเข้าและเก็บรักษาวัคซีนอื่น ๆ ของซิโนฟาร์มมาแล้ว

ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา มี “วัคซีนหลัก” อยู่ 2 ยี่ห้อกระจายฉีดให้คนไทยคือ วัคซีนโคโรนาแวคของบริษัทซิโนแวค นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) 6 ล้านโดส และจะมาเพิ่มอีก 3 ล้านโดสในเดือน มิ.ย. และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า นำเข้าโดยบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 117,000 โดส และนับจากเดือนหน้า วัคซีนแอสตร้าฯ ที่ผลิตในไทยโดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด (SBS) จะทยอยส่งมอบวัคซีนจนครบ 61 ล้านโดส

วัคซีนซิโนฟาร์มที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กำลังจะนำเข้ามา จึงถือเป็น “วัคซีนทางเลือก” ยี่ห้อแรกที่จะฉีดให้คนไทย

โดย ในล๊อตแรกประมาณการจะมา 1 ล้านโดสในเดือน มิ.ย. ส่วนราคาจะรวมอยู่ในราคา  ต้นทุนในการจัดซื้อ การขนส่ง และการจัดเก็บ รวมทั้งค่าประกันในกรณีแพ้วัคซีน  ***โดยเบื้องต้น เปิดให้ หน่วยงานบริการของรัฐ และ บริษัทเอกชน ที่แสดงความจำนงติดต่อขอรับไปฉีด แต่ต้องคุยรายละเอียดอีกครั้ง โดยราชวิทยาลัยฯ ยินดีที่จะให้ใช้โรงพยาบาลเอกชนด้านนอกรับไปฉีดก็ได้ ได้ เพราะ รพ.จุฬาภรณ์มีศักยภาพในการฉีดราว 4,000-5,000 คนต่อวัน (ซึ่งปัจจุบันฉีดให้เฉพาะวัคซีนที่ทางรัฐจัดหา คือ วัคซีนซิโนแลค และ แอสตร้าเซนิก้าในปัจจุบัน)

สำหรับประชาชนที่ลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนไว้กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ก่อนหน้านี้ราว 5-6 แสนคน ทาง รพ. ก็จะใช้วัคซีนที่รัฐจัดให้ฟรี ไม่ว่าจะเป็น แอสตร้าเซนเนก้า หรือซิโนแวค ไม่เกี่ยวกับซิโนฟาร์มที่กำลังจะนำเข้ามา

ทั้งนี้ ในวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา หลังเกิดกระแสโจมตีในโลกออนไลน์ ถึงค่าใช้จ่ายของ วัคซีนซิโนฟาร์มที่เข้ามา ล่าสุด ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ผู้อำนวยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ได้โพสต์ข้อความในเพจส่วนตัว “Nithi Mahanonda” ชี้แจงรายละเอียดอีกครั้งถึงค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัคซีนอีกครั้งเช่นที่เคยแถลงไป อีกครั้ง เฝื่อมีประชาชนตกหล่นในข้อความ คือ  ราคาของวัคซีน ต้นทุนในการจัดซื้อ+ การขนส่ง+ การจัดเก็บ + ค่าประกันในกรณีแพ้วัคซีน  ซึ่งตอนนี้ ยังไม่สรุปว่าจะจะราคาเท่าไร อยู่ในระหว่างการติดต่อ

นอกจากนี้ถ้าเป็นบริษัทเอกชนที่ติดต่อเข้ามาขอซื้อวัคซีนไป ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีข้อกำหนดว่าบริษัทดังกล่าว จะต้องซื้อวัคซีนเพิ่มอีกร้อยละสิบเพื่อบริจาคให้รัฐนำไปฉีดให้กับประชาชนที่ด้อยโอกาสและไม่ได้อยู่กับองค์กรใดๆ ด้วย เช่น ผู้ค้าขายอิสระบนทางเท้า หรือในตลาด นั่นเอง

Related Post

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ขอให้มั่นใจว่าเนื้อไก่มีความปลอดภัยไม่ปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 อย่างแน่นอน

ฮือฮา ตัวการ์ตูนดัง โผล่ ฝาฝนังวัด เจ้าอาวาสชี้แจ้ง ทุกตัวละครมีความหมาย วานนี้ (15 มิ.ย.) เมื่อเวลา 16.00 Read more

กลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ไปเลยสามสาวชาวอเมริกัน เบกาห์ คิง, อาบี โรเบิร์ทส และ มอร์แกน เทเบอร์ ซึ่งทั้งสามสาวให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ต่างประเทศ เล่าเหตุการณ์ที่จับโป๊ะแฟนหนุ่มได้

21/05/2021 ใครฉีด วัคซีน 5 ยี่ห้อนี้ เตรียมเฮ! สหภาพยุโรป ต้อนรับเข้าประเทศแล้วนะ

ใครฉีด วัคซีน 5 ยี่ห้อนี้ เตรียมเฮ! สหภาพยุโรป ต้อนรับเข้าประเทศแล้วนะ

ใครฉีด วัคซีน 5 ยี่ห้อนี้ เตรียมเฮ! สหภาพยุโรป ต้อนรับเข้าประเทศแล้วนะ

Vaccine Covid 19

NEW YORK TIME เผยข้อมูล สหภาพยุโรป (อียู) มีมติเห็นชอบเมื่อวันพุธ (19 พ.ค.) ให้เปิดพรมแดนแก่นักเดินทางจากภายนอกอีกครั้ง ซึ่งนักเดินทางเหล่านี้จะต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่อียูรับรอง ครบถ้วน หรือนักเดินทางจากกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงโรคโควิด-19 ต่ำ

การผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการเดินทางเข้ามานี้ จะเปิดรับนักเดินทางที่ได้รับวัคซีนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งวัคซีนที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก คือ แอสตร้าเซนเนก้า, จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน, โมเดอร์นา, ไฟเซอร์-ไบออนเทค และ ซิโนฟาร์ม

ส่วนรายชื่อประเทศที่เสี่ยงต่ำโรคโควิด-19 ต่ำและให้เข้าประเทศได้แล้ว คาดว่าจะมีการเปิดเผยได้เร็วที่สุดในวันศุกร์ (21 พ.ค.)

ที่ผ่านมา ประเทศสมาชิกอียูชาติอื่น ที่เศรษฐกิจพึ่งพาการท่องเที่ยวน้อยกว่า โดยเฉพาะกลุ่มยุโรปเหนือ เห็นว่าอียูควรอนุญาตเฉพาะนักเดินทางที่มีความจำเป็นจริงๆ แต่ต่อมาก็ยอมลดเงื่อนไขเหล่านี้ลง หลังจากทั่วโลกมีความคืบหน้าเรื่องการฉีดวัคซีนมากขึ้น ขณะเดียวกันอียูก็ยอมให้ยกเลิกการผ่อนคลายนี้ได้ภายหลัง ถ้าหากพบว่าการผ่อนคลายนี้ทำให้เกิดการระบาดเพิ่มขึ้น

Related Post
หนี้ครัวเรือน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระบุว่า ได้ประชุมกับรองนายกรัฐมนตรี และผู้เกี่ยวข้องท่านอื่นๆ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน

เซ็กซ์ครีเอเตอร์ (Sex Creator) ที่นำภาพหรือคลิปของตนเองในลักษณะลามกอนาจาร เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ

สิงคโปร

วันนี้ ชาวสิงคโปร์เริ่ม ‘เหน็ดเหนื่อย’ มากขึ้นกับการต่อสู้ จนต้องหาทางอยู่ร่วมกับไวรัสชนิดนี้ให้ได้ โดยกำลังวาดโครงการใหม่สำหรับโควิด-19