site loader
site loader
12/05/2022 หมออั้ม ขอเคลียร์ Alprazolam หรือ ยาเสียสาว ไม่ได้มีฤทธิ์กระตุ้นอารมณ์ทางเพศผู้ใช้ แต่ทำให้ง่วงซึม!

หมออั้ม ขอเคลียร์ Alprazolam หรือ ยาเสียสาว ไม่ได้มีฤทธิ์กระตุ้นอารมณ์ทางเพศผู้ใช้ แต่ทำให้ง่วงซึม!

หมออั้ม ขอเคลียร์ Alprazolam หรือ ยาเสียสาว ไม่ได้มีฤทธิ์กระตุ้นอารมณ์ทางเพศผู้ใช้ แต่ทำให้ง่วงซึม!

จับตามองพร้อมเปิด ประเด็นใหม่ๆ จากกรณี พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้เปิดเผยผลการตรวจเลือดพยานบุคคลในเรือ ในคดี น.ส.ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ หรือ แตงโม นิดา ดาราสาวที่เสียชีวิต โดยว่าพบสารกลุ่มเบนโซไดอาซิปินส์ ชนิด Alprazolam หรือ ยาเสียสาว จำนวน 1 ราย
โดย ล่าสุด วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 เฟซบุ๊กแฟนเพจ เรื่องเล่าเช้านี้ มีรายงานข้อมูลจาก หนุ่ม กรรชัย ซึ่งได้เปิดเผยผ่านรายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์ ช่อง 3 ระบุว่า เชื่อว่าสารดังกล่าวถูกพบในร่างกายของ ปอ ตนุภัทร เนื่องจากเคยติดต่อสอบถามปอ ยอมรับว่าเป็นตนเองที่พบยา Alprazolam หรือ ยาเสียสาว ซึ่งยาที่ใช้เป็น Alprazolam ขนาด 0.5 มิลลิกรัม โดยได้มาจากคลินิกแห่งหนึ่ง อ้างว่าเพื่อกินแก้เครียด
ซึ่ง เฟซบุ๊ก อั้ม อิราวัต ของนายแพทย์อิราวัต อารีกิจ ได้ออกมาโพสต์อธิบายในเรื่องของยา Alprazolam หรือ ยาเสียสาว ระบุว่า “อ่านข่าวแล้วงงๆ เรื่องยา Alprazolam ซึ่งชื่อทางการค้า ยี่ห้อที่คุ้นหูสุด คือ Xanax ประเด็นอยู่ที่สื่อเล่นคำ ว่าเป็น ยาเสียสาว หรือยาเสียตัว จนกลายเป็น ความเชื่อผิดๆ จริง ๆ แล้ว มันเป็นยารักษาอาการวิตกกังวล อาการแพนิค (ตื่นตระหนก) รวมไปถึง “โรคซึมเศร้า บางครั้งใช้เป็นยานอนหลับ ในกรณีที่จำเป็น
โดยตัวยาจะไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและแน่นอนครับ ว่ายาในกลุ่มนี้ ไม่ได้มีฤทธิ์กระตุ้นอารมณ์ทางเพศผู้ใช้ หากรับประทานเอง ก็จะมีอาการง่วงซึมและเป็นยาอันตราย หากทานร่วมกับยาอื่นๆ โดยเฉพาะหากใช้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้แต่การใช้ร่วมกับยาเสพติดชนิดอื่นๆ การใช้ในทางอาชญากรรมกับบุคคลอื่น ใช้เพื่อหวังผลให้ผู้อื่น ง่วง หลับ ซึม เบลอ หรือตื่นมาพร้อมกับความทรงจำระยะสั้น ที่หายไป เพื่อก่ออาชญากรรมในทรัพย์สินและร่างกาย
กรณีที่เป็นข่าวดังในขณะนี้หากเป็นการตรวจ ณ วันเกิดเหตุหากร่างผู้เสียชีวิต ไม่มี Alprazolam ในร่างกาย โอกาสจะเป็นอาชญากรรม ในประเด็นเรื่องยาก็จะน้อยลง ในมุมของการมอมยา เพราะแค่ตรวจพบในร่างกายผู้ต้องหามันบอกอะไรไม่ได้มาก บอกได้แค่ว่ามีการใช้ยาและแน่นอนว่า ใช้กับตัวเขาเอง ด้วยเหตุผลอื่นๆ แต่หากเป็นกรณีตรวจพบยาในร่างผู้เสียชีวิตจะเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่ พลิกคดี ได้และแน่นอน ว่าผลจะคลาดเคลื่อนสูง หากไม่ได้รับการตรวจแบบทันท่วงที” อย่างไรก็ดีคดีนี้ก็ยังคงเป็นที่ติดตามและ ถกเถียงในวงกว้างของสังคมจนกว่าจะสามารถคลี่คลายได้ เราเองก็ต้องติดตามกันต่อไป

Related Post
ซิโนแวค

วานนี้ (1 มิ.ย.) องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ให้การรับรองวัคซีน "โคโรนาแวค (CoronaVac)" วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา Read more

Pfizer

นายวิษณุ เครืองาม ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณีที่กระทรวงสาธารณสุข เตรียมเสนอสัญญาจัดซื้อวัคซีนไฟเซอร์เข้าหารือในที่ประชุมครม.

WHO

นักวิชาการ WHO แจ้งตรวจสอบพบพาดหัว-ตัดต่อเนื้อหาทำเข้าใจผิดตามที่มีการแชร์ข่าวและข้อมูลว่า “WHO เตือนเลี่ยงฉีดวัคซีนผสมสูตร"