site loader
site loader
28/06/2021 วิจัยพบ “เชื้อไวรัสโคโรนา” แพร่ระบาดเมื่อ 20,000 ปีก่อน ทิ้งร่องรอยในดีเอ็นเอมนุษย์

วิจัยพบ “เชื้อไวรัสโคโรนา” แพร่ระบาดเมื่อ 20,000 ปีก่อน ทิ้งร่องรอยในดีเอ็นเอมนุษย์

นิวยอร์ก, 27 มิ.ย. (ซินหัว) เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ (The New York Times) รายงานโดยอ้างอิงงานวิจัยชิ้นใหม่ที่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเมื่อราว 20,000 ปีก่อน ซึ่งรุนแรงอย่างมากจนทิ้งร่องรอยไว้ในดีเอ็นเอของมนุษย์ยุคปัจจุบัน

รายงานดังกล่าว ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี (24 มิ.ย.) ระบุว่าเมื่อเวลาผ่านไปหลายชั่วอายุคน เชื้อไวรัสสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของจีโนม (genome) หรือชุดข้อมูลทางพันธุกรรมของมนุษย์ นักวิจัยจึงศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรมในจีโนมมนุษย์เพื่อจัดลำดับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสขึ้นใหม่

นักวิจัยพบว่าผู้คนในเอเชียตะวันออกเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสมัยโบราณ และคาดการณ์ว่ายีนเหล่านั้นได้พัฒนาระบบต้านเชื้อไวรัสเมื่อประมาณ 20,000-25,000 ปีก่อน ขณะที่จีโนมมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง เชื้อไวรัสก็เกิดการวิวัฒนาการเช่นกัน โดยโปรตีนของเชื้อไวรัสจะพัฒนาเพื่อเอาชนะกลไกการป้องกันตัวของร่างกายของพาหะ (host)

รายงานระบุว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เชื้อไวรัสโคโรนา 3 สายพันธุ์แพร่ระบาดสู่มนุษย์และก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจรุนแรง ได้แก่ โรคโควิด-19 (Covid-19) โรคซาส์ (SARS) และโรคเมอร์ส (MERS) ซึ่งการวิจัยเชื้อไวรัสแต่ละสายพันธุ์แสดงให้เห็นว่าเชื้อไวรัสแพร่ระบาดจากค้างคาวหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นมาสู่มนุษย์

Related Post
เยียวยา

มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้มีการจัดสรรเงินเยียวยาจากผลกระทบในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 

IBerry

โน้ต อุดม แต้พานิช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ เดี่ยว ประกาศปิดร้าน iberry garden เชียงใหม่ ร้านไอศกรีมที่เปิดมานานกว่า Read more

ฮือฮา ตัวการ์ตูนดัง โผล่ ฝาฝนังวัด เจ้าอาวาสชี้แจ้ง ทุกตัวละครมีความหมาย วานนี้ (15 มิ.ย.) เมื่อเวลา 16.00 Read more