site loader
site loader
09/07/2021 ทส. ตรวจอากาศย่านกิ่งแก้ว พบปลอดภัย คาดชาวบ้านรู้ผลได้กลับบ้านหรือไม่อีก 1-2 วัน

ทส. ตรวจอากาศย่านกิ่งแก้ว พบปลอดภัย คาดชาวบ้านรู้ผลได้กลับบ้านหรือไม่อีก 1-2 วัน

ทส. ตรวจอากาศย่านกิ่งแก้ว พบปลอดภัย คาดชาวบ้านรู้ผลได้กลับบ้านหรือไม่อีก 1-2 วัน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์ถึงผลกระทบจากเหตุไฟไหม้ บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ซ.กิ่งแก้ว อำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติก ว่า ในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ โดยกรมควบคุมมลพิษ ได้หารือกับ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NPC ว่า จะสามารถใช้ ออร์แกนิกเปอร์ออกไซด์ฉีดลงไปยังจุดที่มีสารสไตรีนเพื่อให้แข็งตัวติดไฟยากขึ้น ควบคุมเชื้อเพลิงได้ง่ายขึ้น ไม่ให้เกิดปะทุขึ้นมาใหม่ ซึ่งในวันเดียวกันนี้ทางกรมควบคุมมลพิษจะได้ประสานงานกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อหารือให้ความเห็นชอบว่าจะให้นำสาร ดังกล่าวนี้มาหรือไม่

นายวราวุธ กล่าวว่า ในช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ทั้งที่กิ่งแก้ว และที่ลาดกระบัง บริเวณโรงงานน้ำหอมนั้นก็สามารถควบคุมเพลิงได้หมดแล้ว ได้ให้ทางกรมควบคุมมลพิษ เข้าประเมินสถานการณ์ในช่วงเช้าว่าทั้งสองแห่งนั้นเกิดมลภาวะอย่างไรหรือไม่ โดยมีการเก็บตัวอย่างน้ำไปสำรวจ ทั้งเรื่องคราบน้ำมัน สารตกค้าง สารระเหย รวมถึงให้ตรวจสอบคุณภาพอากาศโดยรอบพื้นที่ด้วย

นอกจากนี้ ได้ให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ก็ได้ให้เร่งสำรวจคุณภาพน้ำทั้งบนผิวดินและใต้ดินโดยมีทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักเคมีและนักธรณี ประชุมหารือร่วมกัน เพื่อดูในรัศมี ตั้งแต่ 0-12 กม. ให้ตรวจสอบตัวอย่าง ทั้งผิวดินและใต้ดินเนื่องจากอาจจะมีการซึมลงไปในน้ำผิวดินได้ หากได้ผลเป็นอย่างไรจะรีบแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบ

Related Post

หลังจาก  Girl From Nowhere ซีซั่น 2 หรือ เด็กใหม่2 ที่ออกอากาศทาง Netflix Read more

ไข้หวัดนก

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีน ได้รับการยืนยันว่า ชายชาวมณฑลเจียงซูคนหนึ่ง เป็นมนุษย์คนแรกที่ติดโรคไข้หวัดนกชนิดหายาก ที่เกิดจากไวรัส H10N3

ชื่นชม เด็กหนุ่มวัย 17 ปี สอบติด 4 เหล่าทัพ ด้วยคะแนนที่ 1 เผยบ้านยากจนแต่มีมานะ

09/07/2021 ยกย่อง วีรบุรุษ “น้องพอส” สู่สวรรค์

ยกย่อง วีรบุรุษ “น้องพอส” สู่สวรรค์

ยกย่อง วีรบุรุษ “น้องพอส” สู่สวรรค์

จากเหตุ เพลิงไหม้ โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติก ซอยกิ่งแก้ว 21 จ.สมุทรปราการ ซึ่งแรงระเบิด สร้างความเสียหาย เป็นวงกว้าง มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ และมีเจ้าหน้าที่อาสาดับเพลิงเสียชีวิต 1 ราย โดยในช่วงบ่ายวานนี้ (6 ก.ค.64) ได้มีพิธีเคลื่อนขบวน ร่างน้องพอส อย่างสมเกียรติ โดยมีอาสากู้ภัยหลายทีมมาร่วมในขบวนด้วย ซึ่งบรรยากาศภายในงานวัดทุ่งครุ ศาลา 5 สถานที่สวดพระอภิธรรม เต็มไปด้วยความโศกเศร้า

ด้าน นางพรวริชะ พรวรรณเสถียร อาของน้องพอส กล่าวว่า ตนเองกับน้องพอสสนิทและรักกันมาก จนถือเป็นแม่คนที่สองของน้องพอสเลยก็ว่าได้ อีกทั้งครอบครัวเป็นอาสาสมัครทุกคน ตัวน้องพอสเองก็เช่นกัน เพราะน้องพอสเห็นครอบครัวทำงานเป็นอาสาตั้งแต่เด็ก น้องจึงเดินตามรอย และรักในการเป็นอาสามาตลอด 2 ปี

แม้ว่างานบางอย่างจะอันตรายมากแค่ไหน น้องพอสก็ไม่เคยกลัว และตนก็อยากฝากให้เจ้าหน้าที่ทุกคนระวังให้มากที่สุด อย่าประมาทมากจนเกินไป เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเวลา อย่างไรก็ดี พวกเราสดุดีความกล้าหาญของ ฮีโร่ผจญเพลิงอย่างน้องพอสไว้ในดวงใจของพวกเราตลอดกาล

Related Post

กระแสการเกลียดชังคนเอเชียยังคงรุนแรงในโลกอย่างต่อเนื่อง วงบอยแบนด์จากเกาหลีใต้ BTS ก็อยากที่จะเป็นส่วนนึงนารร่วมรณรงค์ให้ยุติปัญหานี้

ท่องเที่ยว

สำหรับชาว Flex ที่คิดถึงการเดินทาง เราจะมาอัพเดท  10 ประเทศ ที่เปิดให้เดินทางเข้าประเทศแบบไม่ต้องกักตัวกัน

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์  กล่าวว่า “จากวิกฤตการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ตัวเลขน่าเป็นห่วงที่พบก็คือ หากผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี

05/07/2021 รายชื่อทะลุแสนแล้ว “แคมเปญเรียกร้องนำเข้า ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

รายชื่อทะลุแสนแล้ว “แคมเปญเรียกร้องนำเข้า ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

รายชื่อทะลุแสนแล้ว “แคมเปญเรียกร้องนำเข้า ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

วันที่ 3 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากโควิดสายพันธุ์เดลต้าเริ่มแพร่ระบาดในประเทศไทย ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับวัคซีนที่มีไม่รองรับสายพันธุ์เดลต้า โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ด้านหน้าซึ่งต้องแบกรับความเสี่ยงมากที่สุด และอาจเป็นผู้กระจายเชื้อได้

ต่อมาในวันที่ 29 มิ.ย. ภาคีบุคลากรสาธารณสุข ได้เริ่มเปิดลงชื่อ ทั้งในส่วนบุคลากรสาธารณสุข ตลอดจนประชาชนทั่วไป เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล เร่งนำเข้าวัคซีนชนิด mRNA ทั้งไฟเซอร์และโมเดอร์นา ที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าช่วยยับยั้งสายพันธุ์ดังกล่าวได้ และช่วยหยุดสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงในปัจจุบัน

ล่าสุด พบว่า มีประชาชนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ให้ความสนใจลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องทะลุ 100,000 ราย โดยหลังจากนี้จะมีการยื่นเรื่อง เพื่อให้รัฐบาลพิจารณาในสัปดาห์หน้า

ก่อนหน้านี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ในสัมภาษณ์ว่า วัคซีนทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา จะเข้าประเทศไทยได้ประมาณไตรมาส 4 ปี 64 ไปจนถึงไตรมาส 1 ปี 65

Related Post

บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด จัดกิจกรรม “จากใจหลาน ถึงใจม่า” ทำบุญรวมทั้งสิ้น 1,000,000 บาท Read more

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตอบคำถามสำหรับกรณีที่ผู้ประกอบการสถานบันเทิง ผับ บาร์ เรียกร้องให้เปิดดำเนินกิจการก่อนวันที่ 16 มกราคม 2565

อย่าหาทำ! นักท่องเที่ยวส่งดินคืนปราสาทพนมรุ้งทางไปรษณีย์ คาดเจออาถรรพ์ เจ้าหน้าที่เผยไม่ใช่รายแรกที่โดน

05/07/2021 สหรัฐเพิ่มคำเตือนบนฉลาก “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

สหรัฐเพิ่มคำเตือนบนฉลาก “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

สหรัฐเพิ่มคำเตือนบนฉลาก “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

สำนักงานอาหารและยาสหรัฐ หรือ FDA ประกาศเพิ่มคำเตือนลงในฉลากและใบแสดงข้อเท็จจริงการใช้วัคซีนของไฟเซอร์ และโมเดอร์นา ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด mRNA เกี่ยวกับความเสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ที่พบในกลุ่มคนหนุ่มสาว

รายงานผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ของ FDA แจ้งว่ามีผู้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ รวมกว่า 1,200 กรณีในสหรัฐ จากจำนวนวัคซีนชนิด mRNA ที่ฉีดไปแล้วประมาณ 300 ล้านโดส โดยส่วนใหญ่จะเกิดหลังจากที่ฉีดวัคซีนโดส 2 ไปแล้วประมาณ 2-3 วัน และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในกลุ่มคนอายุ ต่ำกว่า 30 ปี ในสหรัฐ มีคนรับวัคซีน มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล 309 คน ซึ่ง 295 คนที่รักษาหายกลับบ้านแล้ว แต่จนถึงตอนนี้ บริษัทไฟเซอร์และโมเดอร์นายังไม่แสดงความคิดเห็นใดต่อเรื่องนี้

Related Post

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่ากระทรวงยุติธรรมได้เสนอร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ในวาระจรของ ครม.ให้พิจารณาแล้ว

วัคซีน

หลังจากโควิดสายพันธุ์เดลต้าเริ่มแพร่ระบาดในประเทศไทย ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับวัคซีนที่มีไม่รองรับสายพันธุ์เดลต้า

วิจัยโควิด

เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ รายงานโดยอ้างอิงงานวิจัยชิ้นใหม่ที่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเมื่อราว 20,000 ปีก่อน